Page 607 - kpi17968
P. 607

596




                     3. ถ้าเชื่อตามแนวคิดเจตนารมณ์นิยมจะเห็นว่าสังคมนั้นๆ ต้องถูกควบคุม

               โดยบางคนที่ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา ทั้งที่บุคคลเหล่านั้นก็ไม่ได้มีอายุยืนยาวพอที่จะ
               เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คนรุ่นปัจจุบันจะไม่มี
               สิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับตนอยู่นั่นเอง


                     ด้วยข้อจำกัดที่เกิดขึ้นของแนวทางการตีความตามเจตนารมณ์ข้างต้น
               จึงได้มีการเสนอแนวทางการศึกษารัฐธรรมนูญรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า เจตนารมณ์

               นิยมใหม่


                 ตนารม  นิยม หม


                     จากข้อจำกัดของแนวทางเจตนารมณ์นิยมเดิม นักคิดหลายคนจึงได้พัฒนา

               แนวคิดเจตนารมณ์นิยมให้สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม
               การเมืองที่เปลี่ยนไปด้วย โดยเฉพาะ แจ็ค เอ็ม เบาคิน (Jack M Balkin)
               ได้เสนอแนวคิด เจตนารมณ์นิยมใหม่ ซึ่งเชื่อว่า รัฐธรรมนูญควรจะเป็นอะไรที่
               แก้ไขได้ ผ่านการโต้เถียงเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของประชาชนที่พวกเขาเชื่อว่ามีสิ่งอื่น

               ที่ดีกว่า ซึ่งถือว่ากระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่าน
               แนวนอน ที่จะช่วยรักษาความชอบธรรมของประชาธิปไตยของการเปลี่ยนแปลง
               รัฐธรรมนูญผ่านการสร้างรัฐธรรมนูญใหม่ (Balkin, 2009, p.554) กล่าวคือ

               เบาคินได้เสนอว่า อำนาจสูงสุดอยู่ที่ประชาชนในปัจจุบันจะเป็นผู้ตัดสินว่าควรจะ
               เป็นอย่างไร ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญกระทำได้ผ่านการชูประเด็นที่ต้องการจะ
               เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นประเด็นของสังคม และให้สังคมเป็นผู้ตัดสินว่าต้องการ

               จะเป็นไปทางไหน และศาลจะต้องปฏิบัติเปลี่ยนแปลงตามแนวทางที่สังคมต้องการ
               เพื่อให้รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย


                     สำหรับเบาคิน เชื่อว่า แนวคิดเจตนารมณ์นิยมใหม่ไม่ใช่การตีความ
               รัฐธรรมนูญ แต่เป็นการสร้างการนำไปใช้และการประยุกต์รัฐธรรมนูญไปสู่การ

               ปฏิบัติ และสร้างสถาบันเพื่อทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ (Ibid., p. 559) ซึ่งถ้า
               ปฏิบัติตามตามแนวทางนี้จะสามารถสร้างรัฐธรรมนูญที่ดำรงอยู่ได้อย่างยาวนาน
               และเป็นที่ยอมรับ ด้วยเหตุผลหลักสี่ประการ (Ibid., p. 584) คือ







                    บทความที่ผานการพิจารณา
   602   603   604   605   606   607   608   609   610   611   612