Page 617 - kpi17968
P. 617

606




               ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมากกว่า 20 ฉบับ ส่งผลให้สังคมไทยเผชิญกับปัญหา

               เกี่ยวกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญให้คงอยู่ และการทำความเข้าใจรัฐธรรมนูญ
               มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงหลังพ.ศ. 2549 ศาลรัฐธรรมนูญเลือกใช้
               แนวทางตุลาการตีความก้าวหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง แต่ยังไม่มีการ

               ศึกษาถึงหลักการของการตีความรัฐธรรมนูญอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้เกิด
               ปัญหาเกี่ยวกับความไม่เชื่อมั่นต่อศาลรัฐธรรมนูญในการใช้ดุลยพินิจของตน ทั้งนี้
               หากปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้ดุลยพินิจมากเกินไปจนไม่สามารถ

               จะตรวจสอบได้อาจจะนำไปสู่ปัญหาที่สำคัญในอนาคต ได้แก่ ประการแรก
               การคาดการณ์ไม่ได้ของคำวินิจฉัย กล่าวคือ ในคดีที่คล้ายๆ กันศาลควรจะมี
               แนวทางและคำวินิจฉัยที่สอดคล้องกัน แต่ถ้าศาลเลือกใช้กรอบแนวคิดในการ

               วินิจฉัยที่แตกต่างกันในคดีที่ใกล้เคียงกัน จะส่งผลให้ในคดีที่คล้ายกันมีผล
               คำวินิจฉัยที่แตกต่างกัน จนทำให้ประชาชนจะเกิดความสับสนและไม่มั่นใจ
               เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมถึงอาจจะนำไปสู่

               การวิพากษ์วิจารณ์การปฏิบัติหน้าที่ของศาลและนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นความ
               ยุติธรรมของศาลได้ เช่น คดีเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาผู้แทนราษฎร
               ที่ปัจจุบันใช้แนวทางการตีความโดยอ้างถึงเจตนารมณ์ดั่งเดิมของประชาชนที่จัดทำ

               ประชามติ แต่ในอนาคตเมื่อเกิดคดีคล้ายกันนี้ขึ้น ศาลรัฐธรรมนูญกลับวินิจฉัย
               ใหม่ โดยอ้างเหตุแห่งค่านิยมที่ดีและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่นนี้อาจ
               จะนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นของประชาชนต่อศาลรัฐธรรมนูญ ประการที่สอง

               การตรวจสอบได้ยากถึงเหตุผลของคำวินิจฉัย เพราะเมื่อตุลาการไม่มีหลักการ
               หรือหลักการไม่แน่ชัดในการวินิจฉัย ทำให้การวิพากษ์วิจารณ์ตามหลักวิชาการ
               เป็นไปได้ยาก และประการสุดท้าย การปล่อยให้ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้

               ดุลยพินิจมากจนเกินไป จะส่งผลต่อความมั่นคงของสถาบันศาลรัฐธรรมนูญ
               ในระยะยาว


                     ดังนั้นท้ายที่สุดแล้ว สังคมไทยอาจจะต้องอยู่ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมของ
               เขาควาย (Dilemma) ไปอีกระยะหนึ่ง จนกว่าที่สังคมไทยจะวางหลักการเกี่ยวกับ
               การตีความรัฐธรรมนูญที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีแนวทางในการ

               วินิจฉัย ประชาชนมีแนวทางในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ และยังเป็นการ
               สร้างให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นสถาบันหลักที่อยู่อย่างมั่นคงคู่กับสังคมไทย





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   612   613   614   615   616   617   618   619   620   621   622