Page 621 - kpi17968
P. 621

610




                     การที่ประเทศไทยประสบกับปัญหา “คนล้นคุก” เนื่องจากการคำนวณพื้นที่

               เรือนจำทั่วประเทศ 145 แห่ง พบว่า นักโทษ 1 คนใช้พื้นที่ต่ำกว่า 2.25 ตาราง
               เมตรซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และสถิติจำนวนผู้ต้องขังหญิงเพิ่มมากขึ้นจนสูง
               เป็นอันดับหนึ่งของโลก คือ 68.2 ต่อประชากรแสนคน ในปี พ.ศ. 2556 ดังนั้น

               โครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา จึงเป็น
               อีกแนวทางหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางเลือกที่ให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ต้อง
               ขังหญิง และกลุ่มเด็กติดผู้ต้องขังหญิง โดยมีหลักคิดที่ว่า “เรือนจำควรเป็นที่อยู่

               ของบุคคลที่อันตรายอย่างยิ่งยวดและไม่สามารถแก้ไขพฤติกรรมได้ ส่วนบุคคลที่
               มิได้กระทำผิดติดนิสัย ยังพอแก้ไขกลับตนได้ควรได้รับโอกาสจากวิธีการอื่นๆ
               ที่มิใช่การควบคุมตัว อันจะทำให้ลดความแออัดในเรือนจำลงอันเป็นผลพลอยได้ที่

               ตามมา” อีกทั้งโครงการกำลังใจ ยังมุ่งเน้นการรณรงค์เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลที่แม้
               จะก้าวพลาดแต่ก็ได้เรียนรู้ที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่เป็นคนดีของสังคมไทย


               คำสำคัญ: ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง กระบวนการยุติธรรมทางเลือก
               มาตรการที่มิใช่การคุมขัง




                  มาตรการช  ย หล     ต    ั ห ิ ตาม   ก หน

                    กร       ยกระ ับ ิ ธิมน  ยชนไ ย น     ลก



                  บ น   การย ติ  ามร น ร ต     ก ละ ตร  น     ลก ละบริบ

               ประ   ไ ย


                     องค์การสหประชาชาติประกาศให้วันที่ 25 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น

               “วันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก และสตรี” อันเนื่องมาจากเหตุผลทาง
               การเมืองในช่วงปี ค.ศ.1930 – 1961 ยุคการปกครองของนาย Rafael
               มีเหตุการณ์สังหารนักเคลื่อนไหวทางการเมืองสตรีชาวโดมินิกัน 3 คน คือ

               Patria, Maria and Minerva Mirabel ในคืนวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1961
               ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ในอีก 20 ปีต่อมา ปรากฏว่า นักเรียกร้องสิทธิสตรี






                    บทความที่ผานการพิจารณา
   616   617   618   619   620   621   622   623   624   625   626