Page 616 - kpi17968
P. 616
605
รัฐธรรมนูญที่จะสามารถแสดงแบบแผนแนวทางการตีความว่ามาจากรากฐานทาง
ความคิดอย่างไร และส่งผลให้การตรวจสอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นไป
ได้ยาก เพราะยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนชัดเจน เป็นแต่เพียงการสนับสนุนหรือ
วิพากษ์วิจารณ์ของบุคคลต่างๆ โดยไม่มีหลักฐานอย่างเป็นรูปธรรมถึงความ
สม่ำเสมอ/ไม่สม่ำเสมอของการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
าย ั มไ ย ร ะ ล ก บบไหน
การตีความรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะไม่มีทางที่จะสามารถ
เขียนรัฐธรรมนูญให้รัดกุม หรือถึงสามารถจะเขียนให้รัดกุมเพียงพอ แต่ภาษาที่ใช้
ก็ยังสามารถที่จะสื่อความได้หลากหลายมากกว่าหนึ่งความหมาย ดังนั้นการศึกษา
แนวทางการตีความรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่กำหนดโครงสร้าง
ความสัมพันธ์ของสถาบันการเมืองต่าง ๆ ในสังคมจึงมีความสำคัญ
ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญฯ ของสหรัฐ มีหลายครั้ง
แสดงให้เห็นถึงปัญหาเกี่ยวกับการทำความเข้าใจและอธิบายความหมายของ
รัฐธรรมนูญ ทำให้นักวิชาการได้สังเคราะห์รูปแบบการตีความของศาลในกรณี
ต่างๆ มานำเสนอออกเป็นสองแนวทางหลัก คือ แนวทางเจตนารมณ์นิยม และ
แนวทางรัฐธรรมนูญที่มีชีวิต ซึ่งแนวทางเจตนารมณ์นิยมก็ยังแบ่งย่อยออกเป็น
แนวทางเจตนารมณ์นิยมเก่า ที่มองว่ารัฐธรรมนูญคือสัญญาประชาคมที่คนใน
สังคมยอมรับร่วมกัน ดังนั้นหน้าที่ของตุลาการผู้ตีความรัฐธรรมนูญจำเป็นต้อง
เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของสัญญาประชาคมนั้น ไม่สามารถจะใช้ดุลยพินิจส่วนตน
ในการตีความ และแนวคิดเจตนารมณ์นิยมใหม่ มองว่าการตีความรัฐธรรมนูญ
ในแต่ละครั้ง ตุลาการควรจะตีความตามมติสาธารณะของประชาชนในช่วงเวลา
นั้นๆ ขณะที่แนวคิดรัฐธรรมนูญที่มีชีวิต มองว่า ตุลาการเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ
ผ่านการฝึกอบรมทางด้านกฎหมายเป็นเวลายาวนาน ทำให้กลายเป็นผู้มีความ
สามารถกว่าประชาชนทั่วไป จึงสมควรจะวินิจฉัยสิ่งที่ดีให้แก่สังคมตามสภาพ
การณ์ในปัจจุบันได้ ซึ่งแต่ละแนวทางมีจุดดีและจุดด้อยของการตีความรัฐธรรมนูญ
สำหรับสังคมไทย การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญฉบับที่เป็นลายลักษณ์อักษร
เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 จวบจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 83 ปี มีการ
บทความที่ผานการพิจารณา