Page 612 - kpi17968
P. 612
601
ตีความแบบก้าวหน้า (Judicial Activism) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ศาลใช้อำนาจของ
ตนตีความอย่างกว้างเพื่อแก้ไขความขัดแย้งเกี่ยวกับความหมายของรัฐธรรมนูญ
และเพื่อที่จะสนับสนุนความพึงพอใจ/ความปรารถนามากกว่าทางการเมืองของ
ศาล (Roosevelt, 2006, p.38)
สังคมไทยได้เริ่มนำหลักการแนวทางตุลาการตีความก้าวหน้ามาเป็น
แนวทางในการแก้ไขปัญหาของประเทศไทยในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองเมื่อ
ปี พ.ศ. 2549 ที่ฝ่ายบริหารที่มาจากการเลือกตั้งมีความเข้มแข็ง องค์กร
ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจในขณะนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตรวจสอบ
การบริหารงานในยุคนั้นได้ นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในสภาวะ
สุญญากาศทางการเมืองที่มีการจัดการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 แต่มี
พรรคการเมืองที่เคยมีผู้แทนราษฎรอยู่ในสภาก่อนการยุบสภาลงสมัครรับเลือกตั้ง
เพียงพรรคเดียว ทำให้ผลของการเลือกตั้งไม่สามารถสรรหาสมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรได้ครบ 500 คน เพื่อจะเปิดสมัยประชุมสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดได้
ณ เวลานั้นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงได้มีกระแสพระราชดำรัสแก่
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด และผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ให้ผู้พิพากษาและตุลาการร่วมกันใช้อำนาจที่มีอยู่
แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเมืองเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยโดย
แท้จริงให้เกิดขึ้น (ธนัย เกตวงกต, 2557, น. 34-61)
ณ ช่วงเวลานั้นเอง นายธีรยุทธ บุญมี ในฐานะนักวิชาการคนหนึ่งจึงได้
เสนอหลักวิชาการที่สอดรับกับแนวทางข้างต้น โดยได้เสนอแนวทางตุลาการ
ภิวัฒน์ต่อการแก้ไขปัญหาสังคมการเมืองไทย กล่าวคือ ให้ศาลใช้อำนาจ
ตุลาการภิวัฒน์ (judicialization of politics) ตีความกฎหมายอย่างกว้าง
เพื่อตรวจสอบถ่วงดุลกลไกประชาธิปไตยที่ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติของ
รัฐไทย อันเนื่องมาจากว่ารัฐไทยเต็มไปด้วยการทุจริตคอร์รัปชันเป็นจำนวนมาก
(ธีรยุทธ บุญมี, 2549, น. 16-19) โดยนายธีรยุทธเห็นว่าแนวคิดดังกล่าวเป็น
สิ่งที่ปรากฏในต่างประเทศในฐานะกระบวนการหนึ่งในการปกป้องประชาธิปไตย
เช่น ตุลาการวินิจฉัยกฎหมายที่มีขอบเขตกว้างขวางเพื่อขยายสิทธิของคนกลุ่ม
น้อยต่างๆ ในสหรัฐฯ (เพิ่งอ้าง, น. 20-28) หรือเป็นกลไก/เครื่องมือที่จะส่งผลให้
บทความที่ผานการพิจารณา