Page 614 - kpi17968
P. 614

603




                       แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ผ่านการลงประชามติของ

                       ประชาชนในลักษณะที่เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงของประชาชน
                       ทั้งหมด ดังนั้น หากจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยสมาชิกรัฐสภาที่
                       เป็นผู้แทนของประชาชนที่อาจขัดแย้งกับเจตนารมณ์ของประชาชน

                       ทั้งหมด ได้แก่การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
                       ๒๕๕๐ แล้วยกร่างขึ้นใหม่ จึงจะต้องกระทำโดยการรับฟังประชามติจาก
                       ประชาชนทั้งประเทศ...” (ราชกิจจานุเบกษา, 2555, น. 17)


                            “...การมีอยู่ของมาตรา ๖๘ และมาตรา ๖๙ แห่งรัฐธรรมนูญนี้

                       จึงเป็นไปเพื่อรักษาหรือคุ้มครองตัวรัฐธรรมนูญเอง ตลอดจนหลักการ
                       ที่รัฐธรรมนูญได้รับรองหรือกำหนดกรอบไว้ให้เป็นเจตนารมณ์หลัก
                       ทางการเมืองของชาติ คือการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
                       พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และป้องกันการกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่ง

                       อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่
                       บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญในประการนี้
                       ต่างหากที่ถือเป็นเจตนารมณ์หลักของรัฐธรรมนูญที่จะต้องยึดถือไว้เป็น

                       สำคัญยิ่งกว่าเจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแม้จะถือเป็นเครื่องมือ
                       ช่วยค้นหาเจตนารณ์ของรัฐธรรมนูญได้ แต่ความเห็นของผู้ร่าง
                       รัฐธรรมนูญคนใดคนหนึ่งก็มิใช่เจตนารมณ์ทั้งหมดของรัฐธรรมนูญ

                       อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากรายงานการประชุมของสภาร่าง
                       รัฐธรรมนูญ ทั้งการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
                       ๒๕๔๐ และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                       ยังพิจารณาได้ว่าสาระสำคัญของการอภิปรายนั้นมีเจตนารมณ์กันอยู่ที่การ
                       จะให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญผ่านกลไกของ
                       ศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรานี้เป็นสำคัญยิ่งกว่าเรื่องของตัวบุคคลผู้มีสิทธิ

                       เสนอคำร้องการตีความเกี่ยวกับผู้มีสิทธิเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
                       จึงต้องตีความไปในแนวทางของการยอมรับสิทธิมิใช่จำกัดสิทธิ เพื่อให้
                       ชนชาวไทยและศาลรัฐธรรมนูญสามารถเข้ามาตรวจสอบการกระทำที่อาจ

                       มีปัญหาตามมาตรา ๖๘ วรรคหนึ่ง เพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญได้สมดัง
                       เจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว...”  (เพิ่งอ้าง, น. 22)





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   609   610   611   612   613   614   615   616   617   618   619