Page 615 - kpi17968
P. 615
604
“...เรื่องนี้มีมูลกรณีที่พอรับฟังในเบื้องต้นได้ว่า ผู้ถูกร้องทั้งหมด
มีพฤติการณ์ในการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พุทธศักราช ... ในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในประการที่อาจเข้าข่ายเป็นการ
ทำลายระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอันเป็นดุลยภาพระหว่างสภาผู้แทน
ราษฎรและวุฒิสภารวมทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอื่น
ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเดิมเป็นอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาที่มาจากการ
ออกแบบตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ซึ่ง
เป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญตามที่ระบุไว้ในคำปรารภของรัฐธรรมนูญ
ที่มีความหมายให้รัฐธรรมนูญนี้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ โดย
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ
อย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการปกครองและ
ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการกำหนดกลไกสถาบัน
การเมืองทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้มีดุลยภาพและประสิทธิภาพ
ตามวิถีการปกครองแบบรัฐสภา รวมทั้งให้สถาบันศาลและองค์กรอิสระ
อื่นสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยเที่ยงธรรม...” (ราชกิจจานุเบกษา, 2557,
น. 12)
หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความอย่างก้าวหน้าในการ
วินิจฉัยอย่างต่อเนื่อง งานวิชาการกลับไม่ได้ทำการศึกษาถึงแนวทางการตีความ
รัฐธรรมนูญ แต่จะศึกษาถึงกระบวนการหรือผลที่เกิดขึ้นจากคำวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญเป็นส่วนมาก ว่าผลที่เกิดขึ้นจะส่ง
ผลกระทบอย่างไรในสังคมไทย หรืองานบางชิ้นได้ศึกษาถึงหลักการการแก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามแนวทางการศึกษากฎหมาย-สถาบัน (the legal-
institution approach) ที่เป็นการศึกษาแนวพรรณาถึงกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญตามกระบวนการที่เป็นทางการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ผ่านการศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ (ชมพูนุท ตั้งถาวร, 2556)
สำหรับแนวทางตุลาการตีความก้าวหน้า เป็นเพียงการศึกษาถึง
กระบวนการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญโดยตุลาการขยายอำนาจในการตีความ
ของตนให้กว้างขวางขึ้น แต่ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงหลักการหรือทฤษฏีการตีความ
บทความที่ผานการพิจารณา