Page 613 - kpi17968
P. 613
602
รัฐธรรมนูญมีผลในทางปฏิบัติตามแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม (Donnelly, 2007,
p. 6) หรือตุลาการภิวัฒน์จะช่วยปกป้องประชาธิปไตย เพราะศาลเป็นองค์กรที่มี
การฝึกมาเป็นพิเศษและเลือกมาแล้ว ดังนั้นจึงสามารถคิดถึงหลักสำคัญพื้นฐาน
ของระบบประชาธิปไตย (Ginsburg, 2003, pp. 22-23) เป็นต้น
หลังจากนั้นฝ่ายตุลาการของไทยได้ยืนยันอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบและ
ถ่วงดุลการใช้อำนาจเพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม ดังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
ที่ 15-18/2556 ความว่า
“...รัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้กำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจ
หน้าที่สำคัญในการตรวจสอบและถ่วงดุลการใช้อำนาจเพื่อให้เป็นไปตาม
หลักนิติธรรม ภายใต้หลักการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ
กฎหมาย อันเป็นปรัชญาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในอัน
ที่จะทำให้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ได้รับการ
คุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม ควบคู่ไปกับการธำรงและรักษาไว้ซึ่งความเป็น
กฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ...” (ราชกิจจานุเบกษา, 2557, น. 12)
ในเวลาต่อมาศาลรัฐธรรมนูญของไทยยังคงเดินตามเส้นทางของการวินิจฉัย
คดีตามแนวทางการตีความแบบก้าวหน้าต่อมา โดยมาเห็นได้เด่นชัดอีกครั้ง
หลังจากเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยถึงอำนาจของ
สภาผู้แทนราษฎรในการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าสามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งผลของ
คำวินิจฉัยดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยวางหลักการไว้ที่จะพิทักษ์รักษา
เจตนารมณ์ของประชาชนที่ลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ถือเป็นเจตนารมณ์
ร่วมของประชาชน ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงไม่มีอำนาจในการแก้ไข
รัฐธรรมนูญฯ 2550 ดังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 และ
15-18/2556 ความว่า
“...ทั้งนี้รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๑ มีเจตนารมณ์ให้มีการแก้ไขเพิ่ม
เติมรัฐธรรมนูญเป็นรายประเด็นหรือรายมาตรา มิใช่ให้แก้ไขเพื่อนำไปสู่
การยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ข้อกล่าวอ้างของผู้ถูกร้องที่ว่า การแก้ไข
รัฐธรรมนูญเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นเรื่องที่เคยกระทำมาแล้ว
รับฟังไม่ได้ เนื่องจากมีบริบททางสังคมที่แตกต่างกัน โดยรัฐธรรมนูญ
บทความที่ผานการพิจารณา