Page 625 - kpi17968
P. 625
614
ประชาชนในชาติ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของ
ประเทศ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย
ต่อเวทีนานาประเทศ ภายหลังจากที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on
Civil and Political Rights – ICCPR) โดยการภาคยานุวัตและมีผลบังคับใช้เมื่อ
วันที่ 29 มกราคม 2540 ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมไปถึงกรอบกติการะหว่าง
ประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (International
Covenant on Economic Social and Cultural Rights – ICESCR) ด้วยนั่นเอง
ห ามห ั ต ั ห ิ ไ ย ละ ั ลก
สำนักกิจการในพระดำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
กระทรวงยุติธรรม (2558) กล่าวถึงการที่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้า-
พัชรกิติยาภาทรงนำเสนอโครงการ ELFI (Enhancing Lives of Female
Inmates) ในเวทีสหประชาชาติ ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนย่า เมื่อวันที่ 9
กันยายน พ.ศ. 2552 และเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ สำนักงาน
สหประชาชาติ นครเจนีวา ทั้งนี้ทรงมีพระดำรัสถึงการที่ประเทศไทยสนับสนุน
เรื่องสิทธิมนุษยชน รวมถึงทรงเปิดนิทรรศการ “Inspiring Women’s Rights
in Prison” พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นองค์ปาฐกพิเศษ
ในกิจกรรมคู่ขนาน Enhancing Lives of Female Inmates (ELFI) ซึ่งคณะทูต
ถาวรแห่งประเทศไทยประจำสำนักงานสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา จัดขึ้น
ในระหว่างการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 12
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 โดยมีใจความสำคัญดังนี้ “ในโอกาสที่ประเทศไทย
นำเสนอโครงการกำลังใจในการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกัน
อาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาสมัยที่ 17 ที่กรุงเวียนนา เมื่อปีที่ผ่านมา
ทำให้พวกเราตระหนักว่า ยังคงมีช่องว่างในข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของ
สหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ ปี ค.ศ. 1955 (The
1955 United Nations Standard Minimum Rules for the Treatment of
Prisoners: SMR) ที่มีการใช้นานกว่า 50 ปี จึงไม่สามารถรองรับการ
บทความที่ผานการพิจารณา