Page 626 - kpi17968
P. 626

615




                   เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกได้ และไม่มีข้อกำหนดเฉพาะที่จะตอบสนองต่อ

                   ความจำเป็นขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังหญิงอย่างเพียงพอ อย่างไรก็ตามประเด็น
                   ดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะในประเทศไทย แต่นานาประเทศทั่วโลก
                   ต่างพยายามปรับปรุงการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ

                   มากที่สุด และโดยที่กลุ่มผู้ต้องขังหญิงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นที่พวกเรา
                   ต้องพิจารณาประเด็นการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้น”


                         ภายหลังที่องค์การสหประชาชาติโดยที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่
                   65 ได้ให้ความเห็นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2553 ต่อข้อกำหนดสหประชาชาติ

                   ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับ
                   ผู้กระทำความผิดที่เป็นหญิง (United Nations Rules for the Treatment of
                   Women Prisoners and Non - Custodial Measures of Women Offenders)
                   หรือเรียกเพื่อเป็นเกียรติกับประเทศไทยว่า ข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok

                   Rules) ทำให้ข้อกำหนดดังกล่าวมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งถึงแม้จะไม่มี
                   ฐานะเป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับที่ประเทศต่างๆ ต้องปฏิบัติตาม แต่ก็เป็น
                   มาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงที่ยอมรับกันในระดับสากลและประเทศ

                   ต่างๆ ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ เพื่อ
                   ยกระดับมาตรฐานของการราชทัณฑ์ของแต่ละประเทศ


                         ข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) ประกอบด้วย


                         ส่วนที่ 1 ข้อกำหนดทั่วไป (Rules of General Application) ว่าด้วย
                   การบริหารจัดการเรือนจำโดยทั่วไป และใช้กับผู้กระทำความผิดเพศหญิงที่อยู่ใน
                   ระหว่างการควบคุมทุกประเภท ทุกสถานะคดี ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา รวมไปถึง
                   ผู้หญิงที่ถูกควบคุมด้วยมาตรการเพื่อความปลอดภัยหรือมาตรการกักกัน


                         ส่วนที่ 2 ข้อกำหนดที่ใช้สำหรับผู้ต้องขังลักษณะพิเศษ (Rules

                   Applicable to Special Categories) ว่าด้วยการจำแนกลักษณะ และการ
                   ปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในแต่ละประเภท อาทิ ผู้ต้องขังที่เคยเป็นเหยื่อของการใช้
                   ความรุนแรง ผู้ต้องขังที่ตั้งครรภ์ ผู้ต้องขังซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ชนกลุ่มน้อย ชนเผ่า

                   ฯลฯ





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   621   622   623   624   625   626   627   628   629   630   631