Page 624 - kpi17968
P. 624
613
กฎหมายมาบังคับกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัวจึงไม่เหมาะสม
เนื่องจากกฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดมากกว่าที่จะ
แก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดหรือปกป้องคุ้มครอง ผู้ที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงใน
ครอบครัว นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ได้ทรงมอบหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนิน
กิจกรรมต่างๆ เช่นโครงการรณรงค์ “หนึ่งเสียง หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง”
(Say NO to Violence Against Women) เพื่อยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับเปลี่ยนทัศนคติให้ประชาชนเห็นว่าการกระทำความ
รุนแรงต่อผู้หญิงเป็นรูปแบบหนึ่งของการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเป็นปัญหา
สังคม ไม่ใช่ปัญหาส่วนตัวอีกต่อไป โดยจัดกิจกรรมต่างๆในทุกจังหวัดทั่วประเทศ
เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักโดยใช้โมบายกระดิ่ง 100,000 อัน ที่พระองค์ทรง
ประทานให้เป็นสัญลักษณ์ในการรณรงค์สร้างเครือข่ายยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงใน
ทุกครัวเรือนโดยมีแนวคิดว่า “เสียงของกระดิ่งจะเป็นการเตือนให้คนในครัวเรือน
มีสติ ยั้งคิด ยั้งทำ และไม่กระทำความรุนแรงต่อผู้อื่นในทุกรูปแบบ ทั้งร่วมเป็น
กำลังเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการใช้ความรุนแรงขึ้นในชุมชนของตน เพื่อให้การ
ดำเนินงานด้านการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรีเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และมีประสิทธิภาพ”
สำนักงานอัยการสูงสุดจึงได้จัดตั้งสำนักงานกิจการและโครงการในพระดำริ
พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (ส.พ.ภ.) ขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.
2554 โดยมีภารกิจหลักประการหนึ่ง คือ การประสานการดำเนินงานกับ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสานงานกับ
UN Women ในการทำโครงการหรือกิจกรรมเพื่อรณรงค์ยุติการกระทำความ
รุนแรงต่อผู้หญิง เพื่อจะรวมพลังการทำงานด้านการยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง
ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งสอดคล้องกับการที่ประเทศไทยได้มีการใช้แผน
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นฉบับที่ 2 (กรมส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพ,2558)
เริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552-2556 มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นเครื่องมือ
หนึ่งให้กับองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และ
ภาคประชาชน เพื่อนำไปใช้ ส่งเสริม ปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้แก่
บทความที่ผานการพิจารณา