Page 623 - kpi17968
P. 623
612
การป้องกันและเฝ้าระวัง และจัดทำระบบข้อมูลความรุนแรงในครอบครัว เพื่อ
ขับเคลื่อนพระราชบัญญัติฯให้มีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี 10 หน่วยงาน
ร่วมลงนามข้อตกลงดังกล่าว คือ 1.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ 2. กระทรวงยุติธรรม 3. กระทรวงสาธารณสุข 4. กระทรวง
มหาดไทย 5. กระทรวงศึกษาธิการ 6. สำนักงานศาลยุติธรรม 7. สำนักงาน
อัยการสูงสุด 8. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 9. กรุงเทพมหานคร 10. สำนักงาน
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
หากพิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจะพบว่า แม้จะมีความร่วมมือจาก
หน่วยงานต่างๆ เพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่จากข้อมูลที่น่าตกใจสำหรับสังคมไทยก็คือ
สถิติจากกระทรวงสาธารสุข พ.ศ.2556 (ไทยรัฐออนไลน์,2558) กลับพบว่า
เด็กและสตรี ถูกกระทำความรุนแรงเฉลี่ยวันละ 87 ราย เป็นเด็ก 19,229 ราย
สตรี 12,638 ราย รวม 31,966 ราย ปัญหาอันดับ 1 พบในเด็กอายุ 10-15 ปี
คือการล่วงละเมิดทางเพศ ส่วนในสตรี คือ การถูกทำร้ายร่างกาย ความรุนแรง
ที่เกิดในกลุ่มเด็ก พบว่า เกือบร้อยละ 90 เป็นเด็กหญิง พบมากที่สุดในกลุ่มอายุ
10-15 ปี รองลงมาคืออายุ 15-18 ปี ถูกล่วงละเมิดทางเพศมากเป็นอันดับหนึ่ง
รองลงมาเป็นการทำร้ายร่างกาย ผู้กระทำส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่เด็กรู้จัก ไว้วางใจ
และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด เช่น แฟน รองลงมาคือเพื่อน สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก
สภาพแวดล้อม ได้แก่ สื่อลามก ความใกล้ชิด และโอกาสเอื้ออำนวย ส่วนความ
รุนแรงในกลุ่มสตรี พบมากที่สุดอยู่ในกลุ่มอายุ 24 - 45 ปี ปัญหาอันดับ 1 คือ
การทำร้ายร่างกาย รองลงมาคือถูกกระทำทางเพศ ผู้กระทำเป็นคู่สมรสมากที่สุด
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการนอกใจ หึงหวง ทะเลาะวิวาทกัน ทั้งนี้หน่วยงานสตรี
ขององค์การสหประชาชาติ (UN Women) รายงานว่าในปี พ.ศ. 2556 ประเทศ
ไทยมีเด็กและสตรีถูกกระทำรุนแรงสูงขึ้น ซึ่งเป็นความรุนแรงต่อคู่ของตนเอง โดย
ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 36 จาก 75 ประเทศที่มีการกระทำรุนแรงทางกาย
มากที่สุด และอยู่ในลำดับที่ 7 จาก 71 ประเทศที่มีการกระทำรุนแรงทางเพศ
มากที่สุด
แต่เนื่องจากปัญหาความรุนแรงในครอบครัว มีความละเอียดอ่อนซับซ้อน
เพราะมีความเกี่ยวพันกับคนใกล้ชิด การใช้มาตรการทางอาญาตามประมวล
บทความที่ผานการพิจารณา