Page 627 - kpi17968
P. 627
616
ส่วนที่ 3 มาตรการที่มิใช่การคุมขัง (Non-Custodial Measures)
ว่าด้วยมาตรการบังคับใช้กับผู้กระทำความผิดหญิงที่กระทำความผิดไม่รุนแรง
ประกอบกับมีปัจจัยทางกายภาพที่ไม่เหมาะกับการถูกคุมขัง เช่น เยาวชนหญิง
และผู้กระทำความผิดที่ตั้งครรภ์ โดยข้อกำหนดในส่วนนี้สามารถใช้บังคับได้ตั้งแต่
ในชั้นการสอบสวน จนกระทั่งหลังมีคำพิพากษา
ส่วนที่ 4 การวิจัย การวางแผน การประเมินผล และการสร้างความ
ตระหนักแก่สาธารณชน (Research, Planning, Evaluation and Public
Awareness Raising) ว่าด้วยการวิเคราะห์วิจัยถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ ซึ่ง
เป็นปัจจัยให้เกิดการกระทำความผิดในกลุ่มผู้หญิง รวมถึงการศึกษาผลกระทบ
จากการถูกคุมขังที่มีต่อผู้ต้องขังและบุตร นอกจากนี้ยังต้องการให้มีการกำหนด
กิจกรรมที่จะลดการกระทำความผิดซ้ำ อันเป็นส่วนหนึ่งของการส่งคนดีกลับคืนสู่
สังคม ซึ่งการดำเนินการต่างๆ ดังกล่าวนี้จะต้องมีการเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับ
ทราบ โดยอาศัยความร่วมมือจากบรรดาสื่อสารมวลชน
ในฐานะที่ประเทศไทย เป็นผู้ผลักดันให้เกิดข้อกำหนดกรุงเทพดังกล่าวนี้
จึงต้องแสดงบทบาทในการขับเคลื่อนข้อกำหนดกรุงเทพให้เป็นที่ยอมรับของ
ประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดขึ้นของสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่ง
ประเทศไทย(องค์การมหาชน) หรือ Thailand Institute of Justice (TIJ) ที่มี
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นประธานกรรมการที่ปรึกษา
กิตติมศักดิ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ได้รับการสนับสนุน
งบประมาณจากรัฐบาล แต่ปฏิบัติงานขึ้นตรงกับคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ
ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลายแขนง และผู้บริหารองค์กรต่างๆ
ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลและกำหนดนโยบาย กรอบ
ยุทธศาสตร์ แผนงานของสถาบันฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศ
ด้านการวิจัยและการพัฒนากระบวนการยุติธรรม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ
ประเทศไทยในกรอบความร่วมมือกับสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกัน
อาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา เชื่อมโยงแนวคิดตามหลักสากล
สู่การปฏิบัติในระดับประเทศและในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงส่งเสริมมาตรฐาน
สหประชาชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะด้านเด็กและสตรีในกระบวนการ
บทความที่ผานการพิจารณา