Page 628 - kpi17968
P. 628

617




                   ยุติธรรม อีกทั้งยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนประเด็นสำคัญต่างๆ ในเวทีระหว่างประเทศ

                   เช่น หลักนิติธรรม การพัฒนา สิทธิมนุษยชน สันติภาพ และความมั่นคง โดย
                   ผ่านหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
                   สถาบัน TIJ กระทรวงยุติธรรม ศาลยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์ เป็นต้น


                        ร การก ลั       มาตรการช  ย หล     ต    ั ห ิ      ยกระ ับ

                    ิ ธิมน  ยชนไ ย น     ลก


                         กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ (2558) นำเสนอข่าวสารเรื่อง คุกไทยมี “นักโทษ

                   หญิง” มากที่สุดในโลก พบว่า ประเทศไทยประสบกับปัญหา “คนล้นคุก” จาก
                   การคำนวณพื้นที่เรือนจำทั่วประเทศ 145 แห่ง พบว่า นักโทษ 1 คนใช้พื้นที่
                   ต่ำกว่า 2.25 ตารางเมตร ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน และความแออัดดังกล่าว

                   ทำให้เกิดปัญหาตามมา โดยเฉพาะผู้ต้องขังหญิงที่มีสภาพความเป็นอยู่แออัดกว่า
                   ชาย จากสถิติในปี พ.ศ. 2556 พบว่าไทยมีสัดส่วนผู้ต้องขังหญิงสูงสุดในโลก
                   หรือ 68.2 ต่อประชากรแสนคน ทั้งนี้ มาจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของผู้ต้อง

                   ขังหญิงภายใน 5 ปี (พ.ศ.2552-2557) เพิ่มสูงขึ้น 15,845 คน (ข้อมูลเดือน
                   มิถุนายน พ.ศ. 2557 มีผู้ต้องขังหญิง 44,204 คน ส่วนใหญ่หรือคิดเป็นร้อยละ
                   74 เป็นผู้ต้องขังที่ต้องโทษเด็ดขาด) สำหรับการคุมขังนั้น มีสถานที่สำหรับผู้ต้อง
                   ขังหญิง 3 ประเภท ประกอบด้วย ทัณฑสถานหญิง ทัณฑสถานบำบัดพิเศษ และ

                   แดนหญิงที่อยู่ในเรือนจำชาย โดยกว่าร้อยละ 64 จะอยู่ที่เรือนจำชาย สาเหตุ
                   สำคัญมาจากการมีผู้ต้องหาที่ถูกคุมขังระหว่างสอบสวนและคดียังไม่สิ้นสุดจำนวน

                   มาก ขณะที่การพิจารณาคดีก็มีระยะเวลาและขั้นตอนยาวนาน การประกันตัว
                   เป็นไปได้ยากสำหรับคนยากจน รวมไปถึงอัตราโทษที่สูงในคดียาเสพติด ทั้งนี้
                   ผู้ต้องขังหญิงส่วนใหญ่ในคดียาเสพติดมักได้รับโทษมากกว่าผู้ชาย เนื่องจาก
                   มักต่อสู้คดี เพราะเชื่อว่าตัวเองไม่ผิด และไม่ได้เกี่ยวข้องกับคดีโดยตรง เพียงมี

                   ความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่งกับผู้ชายที่กระทำผิด ขณะที่ฝ่ายชายรู้ตัวว่ากระทำ
                   ผิดและรับสารภาพไปแล้ว ทำให้ได้รับการลดหย่อนโทษ


                         ดังนั้นข้อกำหนดกรุงเทพ (Bangkok Rules) ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง
                   หญิงในเรือนจำและมาตรการที่มิใช่การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดที่เป็นหญิง






                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   623   624   625   626   627   628   629   630   631   632   633