Page 167 - kpi18886
P. 167

159





                         ปัจจัยที่ 4 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดคอร์รัปชัน เจ้าหน้าที่ของรัฐมีเรื่องของ
                   ผลประโยชน์ทับซ้อนในลักษณะต่างๆ กัน วันนี้มีการกำหนดมาตรฐานจริยธรรม
                   กลไกการประเมิน ITA หรือการผลักดันให้เกิด ศปท. (ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้าน
                   ทุจริตประจำกระทรวงหรือหน่วยงานของรัฐ)  36 แห่ง เรื่องสำคัญที่สุดคือ

                   กระบวนการต่อต้านคอร์รัปชันภาคประชาชน มาตรา 63 ที่กำหนดว่ารัฐต้อง
                   ให้การส่งเสริมสนับสนุนประชาชนในการต่อต้านคอร์รัปชัน สนับสนุนประชาชน

                   ในการรวมตัวกันโดยได้รับการปกป้องจากภาครัฐ ในหมวดของหน้าที่ของรัฐ
                   แนวนโยบายแห่งรัฐ และเป็นเรื่องของสิทธิหน้าที่ของปวงชนชาวไทย เรื่องเหล่านี้
                   ถูกกำหนดไว้ดีมาก โพลล์จากทั้งไทยและต่างประเทศเรื่องการต่อต้านคอร์รัปชัน
                   ในประเทศไทยใน 3 ปีที่ผ่านมา คะแนนบอกว่าขณะที่คอร์รัปชันยังแย่แต่มี

                   แนวโน้มที่ดีขึ้นจากมาตรการ กลไก และนโยบายที่รอบด้านมากขึ้น ความตื่นตัว
                   การตื่นรู้ที่จะสู้กับคอร์รัปชันของภาคประชาชนและภาคเอกชนที่มีการรวมตัวกัน
                   มีความชัดเจน ดังนั้น ความท้าทายที่จะต่อสู้คอร์รัปชันให้ได้ผลต่อไปในอนาคต

                   หลักๆ ก็จะเป็นแบบนี้ ด้วยหลัก 3 ประการคือ


                          1) หลักการและมาตรการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญทำอย่างไรจะถูกนำ
                             ไปใช้และต้องถูกนำไปใช้อย่างได้ผล


                          2) ทำอย่างไรที่จะทำให้ประชาชนได้รู้ ได้เข้าใจและทวงถามและใช้สิทธิ
                             ตามมาตรการเหล่านั้น


                          3) จะร่วมมือกับภาคีพันธมิตรและภาคส่วนต่างๆ เพื่อสร้างตัวกระตุ้นไป
                             เร่งเรื่องต่างๆ  ที่กล่าวมาทั้งหมดให้มีความเข้มแข็งและรวดเร็วได้
                             อย่างไร


                         ปัญหาใหญ่ๆ เกี่ยวกับการคอร์รัปชันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน
                   พวกพ้อง การไม่เปิดเผยข้อมูล การบังคับใช้กฎหมายไม่ทั่วถึง สถาบัน TDRI

                   เปิดเผยการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาก็ว่ามีปัญหาเรื่องการบังคับใช้
                   กฎหมายไม่เป็นธรรม


                         ประการแรก คือ ภาครัฐสร้างข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น การเข้าถึงข้อมูล
                   ข่าวสาร ตัวอย่างข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจะเปิดเผยว่า ซื้อราคาเท่าไร ราคา




                                                                     การอภิปรายแสดงทัศนะ
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172