Page 166 - kpi18886
P. 166
158
ควบคุมมากแค่ไหน ควรแทรกแซงทางเศรษฐกิจ หรือทางดำเนินชีวิตของผู้คนใน
สังคมเพียงใด มีการพระราชกฤษฎีกาในการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย
เพราะทุกวันนี้กฎหมายบ้านเรามีมากจนไม่สามารถให้ตัวเลขที่แท้จริงได้
ในเรื่องที่ 2 ปัญหาความโปร่งใส จากการศึกษาพบว่าตั้งแต่ พ.ศ. 2500
ข้อมูลทุกอย่างของประเทศไทยจะเก็บเป็นความลับ ไม่ว่าเป็นเรื่องลงทุน การจัดซื้อ
การใช้อำนาจดุลพินิจ โดยมีเหตุผลว่าเป็นเรื่องของความมั่นคงหรืออ้างลอยๆ ว่า
สามารถเปิดเผยข้อมูลได้เพียงเท่านี้ ประเด็นนี้รัฐธรรมนูญใช้นิยามใหม่เกี่ยวกับ
เรื่องข้อมูลข่าวสารเป็น “ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ” พรบ.ข้อมูลข่าวสาร
พ.ศ. 2540 ต้องสังคายนาและวางหลักการใหม่ให้เป็นข้อมูลข่าวสารสาธารณะ
เป็นการกำหนดกติกาใหม่ที่ทำให้ประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ข้อมูลของรัฐแล้ว
สามารถทำการตรวจสอบการใช้อำนาจ สามารถใช้งบประมาณของรัฐได้อย่าง
เต็มที่ และให้มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยี การปรับปรุงระบบราชการจะต้องนำ
ระบบเทคโนโลยีระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ รัฐธรรมนูญเขียนมาตรา 41 ไว้ว่า
ประชาชนมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่อยู่ในความครอบครองของรัฐ
ทั้งนี้ รัฐบาลไปเข้าเป็นสมาชิกข้อตกลง OGP (Open Government Partnership)
ที่กำหนดกติกาการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลง่ายๆ ทุกๆ เรื่องโดยใช้
โทรศัพท์มือถือ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่คืบหน้า เรื่อง E-Government มีการกำหนดว่า
ประชาชนสามารถที่จะติดตามการทำงานของภาครัฐได้ เพราะเมื่อภาครัฐ
ถูกกำหนดหน้าที่กำหนดภารกิจไว้ การทำงานล่าช้า ไม่ตอบสนอง หรือล่าช้าต่อ
การร้องเรียนของประชาชน ประชาชนมีสิทธิฟ้องร้อง
ในประเด็นที่ 3 กลไกตรวจสอบและลงโทษผู้กระทำผิด การต่อต้าน
คอร์รัปชันที่ผ่านมา มีพัฒนาการล่าช้า งบประมาณที่ใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชัน
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาจะอยู่ประมาณ 2,800 ล้าน แต่เงินเหล่านี้มีการทับซ้อน
ของการทำงานแต่ละหน่วยงานที่แยกกันทำส่งผลทำให้การดำเนินคดี การไต่สวน
เรื่องราวคดีต่างๆ ล่าช้า กรณีคดีทุจริตหมดอายุความนั้นเป็นเพราะการทำงาน
ที่บกพร่องหรือการรับเรื่องเก็บไว้นาน พอใกล้จะหมดอายุความถึงส่งต่อ
พอหน่วยงานที่รับส่งต่อต้องไปดำเนินการใหม่ถึงจุดคดีหมดอายุพอดี ในกลไก
ตรวจสอบที่มีปัญหามีการพูดคุยกันถึงบูรณาการและการเพิ่มศักยภาพ แนวทาง
การพัฒนาการอย่างรอบด้าน
การอภิปรายแสดงทัศนะ