Page 162 - kpi18886
P. 162
154
การใช้อำนาจก็ดี การตรวจสอบอำนาจก็ดี เรียกได้ว่าเข้มข้นกว่ารัฐธรรมนูญ
ทุกฉบับที่ผ่านมา
ขณะที่การปราบโกงเป็นจุดเด่นแต่ยังพบจุดด้อยอยู่ที่มาตราหนึ่งใน
รัฐธรรมนูญที่บอกว่าต่อไปนี้ใครก็ตามในประเทศนี้พบว่าองค์อิสระที่เรียกว่า ปปช.
ที่มีหน้าที่ป้องกันปราบปรามการทุจริตของประเทศทำผิด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุจริต
ผิดกฎหมาย หรือดำเนินการใดๆ ที่ถือว่ามีความผิด แต่เดิมเวลา ปปช. ทำความ
ผิด ซึ่งเคยมีกรรมการองค์กรอิสระที่ทำความผิดและติดคุกอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า
องค์กรอิสระก็มีโอกาสที่จะทำผิดกฎหมาย ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าถ้าพบ
ปปช.ทำผิด ต้องส่งเรื่องไปให้ประธานรัฐสภา คือ ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ให้ประธานรัฐสภาตรวจสอบก่อน ถ้าพบว่ามีมูลที่จะมีความผิดจึงส่งเรื่องต่อให้ศาล
แต่ถ้าไม่พบก็เก็บใส่ลิ้นชักห้องทำงานประธานรัฐสภา เดิมถ้าองค์กรอิสระทำความผิด
สส. สว. ก็ยื่นเรื่องไปให้ศาลพิจารณา ตอนนี้มีประธานรัฐสภามาช่วยกลั่นกรอง
ดังนั้น ในอนาคตคนที่ทำความผิด ทุจริต ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในบ้านเมือง เช่น
นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สส. สว. ผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น หรือคนในรัฐบาล
ทำความผิดก็ไปกระซิบบอก ปปช. ให้ดึงเรื่องไว้นานๆ ยังไม่ต้องพิจารณา และ
เอาไว้ถ้ามีเรื่องพวกคุณเข้ามาถึงผม ผมก็จะเก็บใส่ลิ้นชักไว้บ้าง เป็นการแลกเปลี่ยน
ผลประโยชน์กัน ตรงนี้เป็นจุดด้อย
อีกหนึ่งจุดด้อย คือ เมื่อคดีของผู้ทำความผิดเมื่อขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดี
อาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็จะยุติที่ศาลเดียว เดิมอุทธรณ์ได้หากมี
ข้อเท็จจริงใหม่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ยื่นอุทธรณ์ได้โดยไม่ต้องมีข้อเท็จจริงใดทั้งสิ้น
และองค์คณะผู้พิจารณาก็เป็นองค์คณะใหม่มาเริ่มต้นกันใหม่หลังจากที่ยื่นอุทธรณ์
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โครงสร้างทางการเมืองและ
ทางการบริหารเพื่อเอื้อประโยชน์ในการปูทางไปสู่การสืบทอดอำนาจ คือ เรื่องของ
การให้ คสช. สามารถพิจารณาผู้มาเป็น สว. สมาชิกวุฒิสภาได้ทั้ง 250 คน
แม้มีกระบวนเลือกไขว้กันไปไขว้กันมา สุดท้าย คสช. เป็นคนตัดสินใจและใน
250 คนนี้มี 6 คนที่ คสช. ไม่ต้องเลือกเพราะตั้งตามตำแหน่ง 6 ตำแหน่ง
ผบ.สูงสุด ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ปลัดกระทรวงกลาโหม และ ผบ.ตร. ซึ่งทั้ง
6 ตำแหน่งเมื่อบุคคลพ้นจากตำแหน่งและมีคนใหม่เข้าสู่ตำแหน่งนั้นๆ คนใหม่
การอภิปรายแสดงทัศนะ