Page 251 - kpi18886
P. 251
243
การพัฒนาประชาธิปไตยในทุกสังคมมักจะเริ่มต้นจากขั้นการเปลี่ยนผ่านมา
สู่ระบอบประชาธิปไตย (transition to democracy) จนถึงขั้นการสร้างระบอบ
ประชาธิปไตยที่มั่นคง (consolidation of democracy) ก่อนที่สังคมนั้นจะกลาย
เป็นสังคมประชาธิปไตยที่แท้จริง ขั้นการเปลี่ยนผ่านเป็นช่วงของการต่อสู้ขัดแย้ง
ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในระยะนี้มักจะเป็นปัญหาว่าสังคมนั้นจะเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างสังคมการเมืองไปในทิศทางใด การเปลี่ยนผ่านจะประสบความสำเร็จ
หากสังคมดังกล่าวตกลงยอมรับระบอบประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองใหม่
(Doorenspleet and Kopecky, 2008:700-701 ใน อนุสรณ์ ลิ่มมณี, ม.ป.ป.: 1)
อย่างไรก็ตาม การรับประชาธิปไตยมาเป็นระบอบการปกครองไม่ได้หมายความว่า
สังคมนั้นจะมุ่งหน้าไปสู่สังคมประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบและไม่มีวันย้อนกลับ
มาเป็นเผด็จการรูปใดรูปหนึ่งอีกต่อไป หากสังคมนั้นยังไม่สามารถพัฒนาระบอบ
ประชาธิปไตยไปจนถึงขั้นที่มีความเข้มแข็งมั่นคงขึ้นมาได้ ด้วยเหตุนี้ การจัดวาง
ดุลแห่งอำนาจและการมีหลักนิติธรรมขององค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐเพื่อให้บรรลุ
เป้าหมายดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับสังคมไทย
ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาประชาธิปไตยด้านแนวคิดอุดมการณ์
สถาบันและกระบวนการ รวมทั้งวัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมการเมืองไทย
เป็นรากฐานสำคัญที่ส่งผลให้ดุลแห่งอำนาจในระบอบประชาธิปไตยเกิดการ
บิดเบี้ยวในสังคมไทย และนำไปสู่การปฏิเสธและลดทอนความชอบธรรมของ
ระบอบประชาธิปไตย และส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองอย่าง
มากมายในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ระบบวัฒนธรรมมีความเปลี่ยนแปลงอยู่
ตลอดเวลาซึ่งจะส่งผลให้ดุลแห่งอำนาจในระบอบประชาธิปไตยไทยเปลี่ยนแปลง
ไปด้วยเช่นเดียวกันในอนาคต การเสริมสร้างวัฒนธรรมที่เอื้ออำนวยต่อความเป็น
ประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติธรรม จะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปกครอง
ด้วยกฎหมายโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกติกาสูงสุดทางการเมืองการปกครองซึ่งทุกคน
ทุกฝ่ายต่างต้องผูกพันและใช้อำนาจภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญและกฎหมาย
กำหนด สอดคล้องกับแนวคิดการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ รวมทั้งกฎหมาย
ในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐต้องสามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจังหรือไม่มี
การซ่อมเงื่อนปมไว้เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองในการทำลายล้างฝ่ายตรงข้าม
การมีรัฐธรรมนูญที่เป็นไปตามหลัก “นิติสังคม” หรือมีความสอดคล้อง
การประชุมกลุมยอยที่ 2