Page 250 - kpi18886
P. 250

242




               ทางการเมืองสมัยรัฐบาลทักษิณ รัฐบาลสมชาย และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็จะเกิด

               การกำหนดยุทธศาสตร์ และใช้ยุทธวิธีในการสร้างเครือข่ายหรือเชื่อมโยงระหว่าง
               กลุ่มอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจเดิม ได้แก่ ชนชั้นนำ ทหาร ตุลาการภิวัตน์
               ระบบราชการ กลุ่มทุนดั้งเดิม และขบวนการภาคประชาชน กับขบวนการ

               เคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น กลุ่มพันธมิตรฯ ใน พ.ศ. 2548 และ 2551
               กลุ่ม กปปส. ใน พ.ศ. 2556 จนเป็นเงื่อนไขสอดแทรกที่สำคัญต่อการเปลี่ยน
               การเมือง ได้แก่ การรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 การถอดถอน

               นายกรัฐมนตรีใน พ.ศ. 2551 และการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

               ปัญหาและอุปสรรคทางด้านวัฒนธรรมทางการเมืองไทย


                     มรดกหลักในเรื่องระบบไพร่ ระบบขุนนาง ระบบศักดินาหรือระบบ
               เจ้าขุนมูลนาย มีผลทำให้ระบอบการปกครองโบราณของไทยไม่มีจินตภาพ
               (concepts) เกี่ยวกับเรื่องของสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคทางกฎหมาย

               พรรคการเมือง การเลือกตั้ง สภาผู้แทนราษฏรและกระบวนการนิติบัญญัติ
               (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล, 2552: 4-5 ใน พิศาล มุกดารัศมี, 2554: 4-39)
               ซึ่งจินตภาพเหล่านี้คือส่วนประกอบของความเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบ

               ประชาธิปไตย สังคมใดที่ขาดหรือไม่มีพัฒนาการความเป็นมาก็ย่อมประสบกับ
               ปัญหาและความยุ่งยากในการสร้างมันขึ้นมา ขณะที่ความสัมพันธ์ของประชาชน
               คนไทยดำเนินอยู่ภายใต้วัฒนธรรมอุปถัมภ์ค้ำจุน (patron-client relationship)

               ซึ่งเน้นพันธะหน้าที่ (obligation) ระหว่างผู้มีสถานะต่างกัน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์
               ที่จำแนกระดับต่ำสูง (hierarchy) แบบเจ้านายกับลูกน้องหรือผู้ใหญ่กับผู้น้อย
               ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีพันธะต่อกันมากกว่าเน้นการใช้เสรีภาพ เคารพในสิทธิและ
               ความเสมอภาคของปัจเจกบุคคล ทั้งนี้โดยถูกกำกับจากศีลธรรม คุณธรรมทาง

               ศาสนารวมไปถึงจารีตประเพณีต่าง ๆ ในระบบดังกล่าวแม้จะมีการดำรงอยู่ของ
               กฎหมาย แต่การปกครองอย่างเคร่งครัดตามตัวบทกฎหมาย (The rules of law)

               ย่อมไม่ใช่สิ่งสำคัญ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้เป็นนาย (rule of man)
               ซึ่งมีอยู่หลายระดับ (อมรา พงศาพิชญ์ และ ปรีชา คุวินทร์พันธุ์, 2539: 72-86
               ใน พิศาล มุกดารัศมี, 2554: 4-39) ดังนั้น ดุลแห่งอำนาจที่ถูกออกแบบและ
               บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญจึงไม่ได้มีความสำคัญกว่าดุลแห่งอำนาจและอิทธิพลที่มีอยู่

               ในระบบวัฒนธรรมของไทย




                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254   255