Page 247 - kpi18886
P. 247

239




                   แห่งความขัดแย้งของสังคมไทยกลับมีภาพสะท้อนความอ่อนแอของหลักนิติธรรม

                   อย่างเห็นได้ชัด เช่น ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยต่อมาตรา 68 ตามรัฐธรรมนูญ
                   แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
                   ซึ่งเป็นการก้าวล่วงอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นต้น ปรากฏการณ์

                   เหล่านี้จะส่งผลให้สังคมเกิดคำถามและข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อความชอบธรรม
                   ขององค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐต่าง ๆ หากยังไม่ได้รับการจัดวางความสัมพันธ์เชิง
                   อำนาจและบทบาทที่ถูกต้อง ในสังคมประชาธิปไตย ภายใต้หลักนิติธรรม

                   ซึ่งมีรัฐธรรมนูญเป็นกติกาและกลไกสำคัญทางสังคมในการจัดวางระบบ
                   การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ
                   รวมทั้งการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐจากภาคประชาสังคม


                         เมื่อพิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แล้ว
                   จะเห็นได้ว่าสังคมไทยยังห่างไกลจากการจัดดุลแห่งอำนาจที่ลงตัวและความเป็น

                   นิติธรรมอยู่มาก แม้มาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญจะประกาศยอมรับหลักการ
                   แบ่งแยกอำนาจและบัญญัติให้องค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็น
                   ไปตามหลักนิติธรรม เนื่องจากดุลแห่งอำนาจระหว่างสถาบันทางการเมืองตาม

                   รัฐธรรมนูญนั้นแคบจนเกินไป เพราะมีเพียงองค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร
                   ตุลาการ และการตรวจสอบ ซึ่งขาดดุลอำนาจกับประชาชน เนื่องจากในปัจจุบัน
                   อำนาจของประชาชน มีความเป็นสถาบันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาแห่งความ

                   ขัดแย้งได้ก่อให้เกิด “ดุลอำนาจการเมืองแบบมวลชน” ที่เป็นปัจจัยสนับสนุนให้
                   เกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และการรัฐประหารในวันที่
                   22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ การจัดความสมดุลแห่งอำนาจกับทหาร

                   และข้าราชการประจำซึ่งเป็นดุลแห่งอำนาจในระบบวัฒนธรรมไทยมายาวนานก็ยัง
                   คงไม่มีความชัดเจน จึงเกิดคำถามว่า การออกแบบสถาบันที่จะใช้อำนาจในระบอบ
                   ประชาธิปไตยแบบตัวแทนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                   2560 สามารถสะท้อนความหลากหลายของสังคมเพียงพอหรือไม่

                         ดุลแห่งอำนาจในระบอบประชาธิปไตยที่เกิดการบิดเบี้ยวในสังคมไทย

                   เพราะไม่สามารถจัดความสมดุลแห่งอำนาจที่สะท้อนความหลากหลายได้อย่าง
                   ลงตัวเป็นไปตามหลักนิติธรรม สืบเนื่องมาจากการปะทะกันของสองแนวความคิด
                   คือการให้คุณค่าประชาธิปไตยแบบตะวันตก ประชาธิปไตยสากลในฐานะที่เป็น




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252