Page 246 - kpi18886
P. 246
238
ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งปรากฏการณ์
ดังกล่าวก็เป็นการทำลายความเข้มแข็งอย่างแท้จริงของการเมืองภาคประชาชน
การทำลายความเข้มแข็งและหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระยะยาว
รวมทั้งกระทบต่อหลักนิติธรรม ส่งผลให้ดุลแห่งอำนาจในระบอบประชาธิปไตย
เกิดการบิดเบี้ยว
ดุลแห่งอำนาจในระบอบประชาธิปไตยที่เกิดการบิดเบี้ยวและความเคลือบแคลง
ในหลักนิติธรรมสืบเนื่องมากจากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 พุทธศักราช 2550 และพุทธศักราช 2560 กำหนดให้องค์กร
ตุลาการมีบทบาทในการตรวจสอบถ่วงดุลทางการเมืองมากขึ้น เช่น การกำหนด
ให้มีศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
เป็นต้น การกำหนดบทบาทขององค์กรตุลาการในลักษณะเช่นนี้แม้จะสอดคล้อง
กับการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) ระหว่างสถาบันต่าง ๆ แต่
การใช้อำนาจพึงใช้ด้วยความระมัดระวังตามทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ
(Separation of Power) และตามหลักนิติธรรม โดยเฉพาะอำนาจตุลาการซึ่งเป็น
อำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยข้อพิพาทพึงระมัดระวังเป็นพิเศษในการใช้อำนาจ
ที่เหมาะสมภายในกรอบกฎหมายและหลักนิติธรรมเพื่อให้การใช้อำนาจอธิปไตย
เป็นไปอย่างมีดุลยภาพ (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อ
การปรองดองแห่งชาติ (คอป.), 2555: 246) ประเด็นเหล่านี้จึงเป็นส่วนสำคัญ
ที่นำไปสู่ความขัดแย้งจากการที่องค์กรอิสระตุลาการ องค์กรอิสระ และองค์กร
ตามรัฐธรรมนูญ ได้ถูกนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองและทำลายฝ่ายตรง
ข้าม และ ซึ่งเป็นที่กังขาถึงความชอบธรรมขององค์กรตุลาการ องค์กรอิสระ และ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองจากฝ่ายต่างๆ (สถาบัน
พระปกเกล้า, 2555: 137-139)
การสร้างหลักนิติธรรม (The rules of law) ควบคู่กับการจัดดุลแห่ง
อำนาจที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองจึงเป็นรากฐานสำคัญของระบอบ
ประชาธิปไตยแบบตัวแทน แต่หลักนิติธรรมจะเกิดขึ้นในสังคมได้นั้น บริบททาง
สังคมต้องมีความชอบธรรม เช่น การมีกฎหมายที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
การตัดสินของศาลที่มีมาตรฐานของความยุติธรรม กระบวนการใช้อำนาจของ
องค์กรผู้ใช้อำนาจรัฐต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลได้ แต่ในหลายกรณีในช่วงเวลา
การประชุมกลุมยอยที่ 2