Page 249 - kpi18886
P. 249

241




                   ประชาธิปไตย (ธงชัย วงศ์ชัยสุวรรณ, 2552: 28-29 ใน พิศาล มุกดารัศมี,

                   2554: 4-43) เป็นสิ่งที่ถูกปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นธรรมเนียมทางการเมือง
                   จนนำไปสู่การถกแถลงถึงความล้มเหลวของการจัดดุลแห่งอำนาจในระบอบ
                   ประชาธิปไตยแบบตัวแทนของสังคมไทย ขณะเดียวกัน “การลดทอนความชอบ

                   ธรรมของระบอบตัวแทนที่ผ่านการเลือกตั้งนั้นเท่ากับว่าเป็นการลดทอน
                   สิทธิและเสียงของประชาชน ตลอดจนทำให้ความเสมอภาคระหว่างบุคคล
                   ในระบอบประชาธิปไตยถูกกระทบ” อีกด้วย


                   ปัญหาและอุปสรรคทางด้านสถาบันและกระบวนการ

                         หากพิจารณาโครงสร้างรัฐไทยจะพบว่า ปัญหาในการจัดดุลแห่งอำนาจเกิด

                   จากการที่ระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่สถาบันการเมืองแบบตะวันตกสถาบันแรก
                   ที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในสังคมการเมืองไทย เพราะก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลง
                   การปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยนั้นได้มีระบบราชการสมัยใหม่ กองทัพ

                   ประจำการ ระบบกฎหมายสมัยใหม่ ระบบศาล รูปแบบของการปกครองในแบบ
                   รัฐรวมศูนย์ เป็นประเด็นสำคัญที่ธีรยุทธ บุญมี ตั้งข้อสังเกตถึงจุดอ่อนของ
                   ประชาธิปไตยไทย อยู่ที่ความล้มเหลวในการสร้างประชาธิปไตยให้เป็น “สถาบัน

                   ประชาธิปไตย” ควบคู่ไปกับสถาบันหลักที่มีอยู่เดิม อันได้แก่ ชาติ ศาสนา
                   พระมหากษัตริย์ (ธีรยุทธ บุญมี, 2536: 111 ใน พิศาล มุกดารัศมี, 2554:
                   4-44) ดุลแห่งอำนาจในสังคมไทยจึงมีอย่างหลากหลาย ก่อนที่จะมีระบอบ

                   ประชาธิปไตยเกิดขึ้น และดุลแห่งอำนาจดังกล่าวนี้อยู่นอกขอบเขตที่รัฐธรรมนูญ
                   ฉบับลายลักษณ์อักษรจะเข้าไปจัดการได้อย่างแท้จริง


                         ความล้มเหลวของการสถาปนาดุลแห่งอำนาจในแง่สถาบันทางการเมือง
                   ในระบอบประชาธิปไตยของสังคมการเมืองไทย ก่อให้เกิดโครงสร้างอำนาจรัฐ
                   ของไทยที่มีลักษณะเป็น “รัฐคู่ขนาน” (parallel state) (Paxton, 2004 ใน
                   เออเจนี เมริโอ (เขียน) วีระ อนามศิลป์ (แปล), 2559: 14) หรือ “รัฐเร้นลึก”

                   (deep state) (Dale Scott, 2008 ใน เออเจนี เมริโอ (เขียน) วีระ อนามศิลป์
                   (แปล), 2559: 14) ที่สถาบันระบบราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน มีบทบาท

                   อำนาจอิทธิพลในการควบคุมกำกับทางการเมืองอยู่เบื้องหลัง และในสถานการณ์ที่
                   โอกาสทางการเมือง (political opportunity) เอื้ออำนวย เช่น ในวิกฤตการณ์





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 2
   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253   254