Page 248 - kpi18886
P. 248

240




               “ประชาธิปไตยที่ถูกต้องแท้จริงที่สุด” กับการมองประชาธิปไตย ในแบบเฉพาะ

               ที่รู้จักกันในนาม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” เนื่องจากประชาธิปไตยไม่ใช่สถาบัน
               การเมืองแบบตะวันตกสถาบันแรกที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในสังคมการเมืองไทย
               อีกทั้งยังไม่ปรากฏในเรื่องปรัชญา แนวความคิดและหลักการขั้นพื้นฐาน

               โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทำให้สถาบัน
               ทางการเมืองที่สำคัญไม่สามารถยกระดับและพัฒนาตัวเองไปสู่ความเป็นสถาบัน
               ทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้ ดุลอำนาจในระบอบประชาธิปไตย

               แบบตัวแทนจึงเป็นสิ่งที่ถูกตั้งคำถามและท้าทายอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงสร้าง
               ของระบบอุปถัมภ์ที่ได้ฝังรากลึกลงในสังคมการเมืองไทย สืบเนื่องมาจาก
               มรดกทางประวัติศาสตร์จากระบบไพร่ ระบบขุนนาง ระบบศักดินาหรือระบบ

               เจ้าขุนมูลนาย ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างและกำเนิดของวัฒนธรรม
               ประชาธิปไตยที่เน้นไปยังเรื่องของสิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชน
               (พิศาล มุกดารัศมี, 2554: 4-38)


               ปัญหาและอุปสรรคทางด้านแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง

                     ข้อโต้เถียงและความขัดแย้งระหว่างรูปแบบ “ประชาธิปไตยสากล” กับ

               “ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ” ยังปรากฏออกมาว่า ประชาธิปไตยของไทยจะต้อง
               ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่ลอกเลียนหรือสั่งนำเข้ามาจากต่างประเทศ หากต้องมี
               รากเหง้าอยู่ที่วัฒนธรรมและลักษณะสังคมของไทยด้วย แต่ปัญหาก็คือ

               ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสร้างขึ้นโดยอาศัยแต่ความคิดเดิมของสังคม
               ไทย เพราะสังคมไทยแต่ดั้งเดิมนั้นมีลักษณะเป็นสังคมเกษตรกรรม ซึ่งมีหมู่บ้าน
               ชนบทเป็นแกนกลางของชีวิต และชาวไร่ชาวนาเองก็ยังอยู่ภายใต้รูปแบบความ
               สัมพันธ์ของระบบอุปถัมภ์อยู่ (เอนก เหล่าธรรมทัศน์, 2538: 83-85 ใน พิศาล

               มุกดารัศมี, 2554: 4-43) ทัศนคติดังกล่าวสามารถสังเกตได้จากวิธีคิดและ
               การปฏิบัติติของชนชั้นนำในอดีต เช่น จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มีความเห็นว่า

               ประชาธิปไตยตะวันตกไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะฉะนั้นจึงมีความจำเป็น
               ต้องสร้างประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ขึ้นมา หรือจากทัศนะของหม่อมราชวงศ์
               คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่เปรียบเทียบ ประชาธิปไตยเหมือนกับต้นไม้ที่เจริญเติบโตขึ้น
               ในโลกตะวันตก ไม่เหมาะกับบุคลิกลักษณะนิสัยของคนไทย จนกระทั้งถึง

               การกระทำรัฐประหารในทุกครั้ง ก็ต้องมีข้ออ้างว่าทำเพื่อสร้างและรักษาระบอบ




                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252   253