Page 274 - kpi18886
P. 274
266
1) หากอ่านรัฐธรรมนูญให้ดีจะพบว่าดุลคานอำนาจที่จะป้องกันการใช้
อำนาจในทางที่ผิดนั้นคลาดเคลื่อนซึ่งจะทำให้กลไกดีๆ ที่ตั้งไว้ไม่มีประสิทธิภาพ
และเหตุที่ดุลอำนาจคลาดเคลื่อนเป็นดังนี้
หนึ่ง การขับเคลื่อนกระบวนการและกลไกต่างๆ เป็นการรวมศูนย์
สอง ช่องทางที่ประชาชนที่เคยได้รับมาเมื่อปี พ.ศ. 2540 และ พ.ศ.
2550 ในการเข้าร่วมกระบวนการสกัดกั้นการใช้อำนาจในทางที่ผิดถูกตัดทิ้ง
ด้วยเหตุผลเพราะไม่เคยสำเร็จเลยตลอดเวลาที่ผ่านมา ซึ่งเหตุที่ไม่สำเร็จก็เพราะ
ช่วงนั้นดุลอำนาจสกัดกั้นประชาชน ดังนั้นเมื่อเป็นสิ่งที่ดีและสามารถปรับได้เหตุ
ใดจึงไม่ปรับให้มีประสิทธิภาพ ขณะที่จริยธรรมซึ่งของเดิมก็ไม่เคยสำเร็จเช่นกัน
แต่ยังพยายามหาวิธีทำให้ประสบความสำเร็จให้ได้ การกระทำเช่นนี้เท่ากับกัน
อำนาจสิทธิพื้นฐานประชาชน
มาตรา 236 – สมาชิกผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของ
สภาทั้งสองจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มี หรือ
ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20,000 คนมีสิทธิ์เข้าชื่อกัน กล่าวหา
กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หากผู้ใดกระทำการ ตาม
มาตรา 234 (1) หมายความว่า ถ้า ปปช. ทุจริตประพฤติมิชอบหรือร่ำรวย
ผิดปกติหรือทำผิดจริยธรรมอย่างร้ายแรง ประชาชน 20,000 คนมาเข้าชื่อกัน
กล่าวหา คำถามคือทำไมต้องขนาดนั้น การกล่าวหาจะกระทำโดยประชาชน
คนเดียวไม่ได้หรือเพราะหากประชาชนมีหลักฐานตามสมควรและเสนอต่อ
ประธานรัฐสภาเลยไม่ได้หรืออย่างไร เดิมกฎหมายกำหนดจำนวนประชาชน
20,000 ชื่อเพื่อถอดถอนเพราะไม่มีระบบใดๆ เป็นหลักประกันสิทธิให้ประชาชน
เลยเมื่อประชาชนไม่ต้องการก็ให้เข้าชื่อถอดถอน แต่ในกฎหมายนี้ต้องมีมูลว่าผิด
ว่าฝ่าฝืน ซึ่งการมีมูลแสดงถึงความไม่ปกติอยู่แล้ว จึงยื่นต่อประธานรัฐสภา
นอกจากนี้กฎหมายเดิมประธานรัฐสภาไม่มีอำนาจพิจารณาเพื่อดองเรื่องที่ยื่นมา
แต่มาตรา 236 บอกว่าหากประธานรัฐสภาเห็นว่ามีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการ
กระทำตามที่ถูกกล่าวหาจึงเสนอเรื่องไปศาลฎีกา หมายความว่า หากประธาน
รัฐสภาไม่สงสัยก็ไม่ต้องเสนอเรื่อง นี่เป็นการสกัดกั้นการแก้ปัญหาการปราบโกง
ปัญหาจึงอยู่ที่ประธานรัฐสภาจะจริงจังเรื่องนี้ไม่ เมื่อกระบวนการนี้ตกอยู่ในมือ
การประชุมกลุมยอยที่ 3