Page 361 - kpi18886
P. 361
353
รวมกันก็คือสถานที่ที่เต็มไปด้วยดวงจิตจำนวนมาก เป็นโอกาสที่จิตทั้งหลายจะได้
เรียนรู้กันว่าจิตของแต่ละดวงเป็นอย่างไร หรือกล่าวได้ว่าเมื่อมนุษย์มาอยู่ในรัฐ
จะทำให้แต่ละคนรู้ว่าจิตของตนมีธรรมชาติอย่างไร เมื่อแต่ละคนเข้าใจจิตของตน
ก็ได้เรียนรู้ทางปรัชญา ยกระดับและพัฒนาจิตให้เข้าถึงความรู้ที่แท้จริงได้ นี่คือ
ความเที่ยงธรรมหรือความยุติธรรม และเมื่อคนต้องมาอยู่รวมกันในสถานที่
เดียวกันที่เรียกว่ารัฐ เมื่อเข้ามาอยู่ในรัฐแล้วความจำเป็นที่ต้องมีสถาบันการเมือง
ขึ้นมา ให้ยึดถือเป็นหลักจัดระเบียบสังคม ก็คือกฎหมาย รัฐสร้างกฎหมาย
ธรรมนูญการปกครองสอนให้คนในรัฐเรียนรู้กติกาการอยู่ร่วมกัน ทุกคนในรัฐ
มีพันธะสนับสนุนและเคารพกฎหมายของรัฐ รัฐจะธำรงอยู่ได้ก็เมื่อประชาชน
ในรัฐสนับสนุนเท่านั้น
จากบทสนทนาจะเห็นว่าเปลโตมีความคิดว่าไม่มีสภาวะใดสำหรับรัฐและ
คนในรัฐจะดีไปกว่าการที่แต่ละคนรู้จักความสามารถของตนเอง และเลือกปฏิบัติ
อย่างเหมาะสม เปลโตอธิบายว่าจิตของคนเราประกอบด้วยสามภาค คือ
ภาคตัณหา (Appetite), ความกล้าหาญ (Courage) หรือภาคน้ำใจ, และเหตุผล
(Reason) โดยในแต่ละบุคคลนั้นจะมีภาคหนึ่งภาคใดโดดเด่นครอบงำสองภาค
ที่เหลือเสมอ ดังนั้นเปลโตจึงแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นสามชั้น คือ จิตของผู้ใด
ที่มีภาคเหตุผลโดดเด่น เขาผู้นั้นก็เหมาะที่จะเป็นผู้ปกครอง จิตผู้ใดที่มีภาค
ความกล้าหาญชี้นำอยู่ก็เหมาะสมกับการเป็นนักรบหรือไปเป็นทหาร และจิตผู้ใดที่
มีภาคตัณหาครอบงำอยู่ก็เหมาะสมกับการทำหน้าที่ผู้ผลิต และทำงานทั่วไปในรัฐ
ทั้งนี้ ทุกชนชั้นต้องยอมรับความสามารถของตนเอง และแสดงบทบาทตาม
ลักษณะของจิตตัวเอง ผูกพันอยู่กับธุรกิจของตนเองไม่ไปก้าวก่ายงานของผู้อื่น
จะทำให้เกิดความกลมกลืนในหมู่มนุษย์ รัฐได้สิ่งที่ดีที่สุดคือ ทุกคนทำตามหน้าที่
ตามความสามารถของตนเอง แต่ละคนได้ในสิ่งที่ดีที่สุดคือ การอยู่ในรัฐที่เจริญ
(เปลโต, 2523, ปรีชา ช้างขวัญยืน แปล, หน้า 177-187)
ในความคิดของเปลโตผ่านบทสนทนาเรื่อง The Republic จึงมีแต่
นักปรัชญาเท่านั้นที่มีความเหมาะสมเป็นผู้ปกครอง เพราะนักปรัชญาเป็นผู้ที่มี
จิตภาคเหตุผลโดดเด่น เป็นผู้ที่รู้จักแยกแยะดีชั่ว มีความสามารถในการใช้เหตุผล
และสามารถที่จะทำให้เกิดความยุติธรรมในรัฐได้อย่างแท้จริง
บทความที่ผานการพิจารณา