Page 362 - kpi18886
P. 362

354




                     เปลโตกำหนดให้นักปรัชญามาดำรงตำแหน่งเป็นราชาปราชญ์ ผู้ทรงปัญญา

               (Philosopher king) ที่มีความรู้ความสามารถ รู้ซึ้งถึงความจริง มีเพียงนักปรัชญา
               เท่านั้นที่จะเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติและสามารถปกครองได้สอดคล้องกับ
               กฎหมายธรรมชาติ มาเป็นผู้ปกครอง เปลโตถือว่าการเมืองการปกครองเป็น

               ศิลปะอย่างหนึ่ง ผู้ปกครองที่ดีต้องมีความรู้ รอบรู้อย่างดีเลิศ มีผู้ทรงภูมิปัญญา
               ไม่กี่คนเท่านั้นที่สามารถทำให้เกิดคุณธรรมแห่งการเป็นผู้ปกครองปรากฏในตัวเอง
               ซึ่งผู้มีปัญญา มีความรู้เลิศนั้นก็คือนักปรัชญา เปลโตคิดว่าถ้านักปรัชญาได้เป็น

               กษัตริย์หรือมีกษัตริย์ที่เป็นนักปรัชญา จะเป็นการผสมผสานความยิ่งใหญ่ทาง
               การเมืองกับความเฉลียวฉลาดในบุคคลที่เป็นผู้ปกครอง สิ่งชั่วร้ายในสังคมจะ
               หมดไป เปลโตจึงได้เสนอวิธีการในการคัดเลือกเฟ้นว่าแต่ละคนในรัฐนั้นควรจะทำ

               หน้าที่อะไรถึงจะเหมาะสมกับตัวเองที่สุด ด้วยการศึกษา โดยใช้การศึกษาขั้นต้น
               เป็นภาคบังคับให้แก่ทุกคนจนถึงอายุ 18 ปี เน้นเรียนพลศึกษาและดนตรี ซึ่ง
               รวมถึงวรรณคดี ศิลปะและต่อด้วยการฝึกทหารอีก 2 ปี ใครที่สอบผ่านก็ไปเรียน

               ขั้นต่อไป ใครที่สอบไม่ผ่านต้องออกไปเป็นผู้ผลิต เพราะถือว่าจิตถูกครอบงำด้วย
               ตัณหา ในขั้นที่สองผู้ที่เข้ามาศึกษาจะมีอายุ 20 ปีและผ่านการทดสอบในขั้นแรก
               การศึกษาในขั้นนี้แบ่งเป็นสองช่วงช่วงแรก 10 ปี เรียนคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์

               แล้วมีการทดสอบ ใครสอบไม่ผ่านก็ออกไปรับใช้รัฐในฐานะทหาร ผู้ป้องกันรัฐ
               ใครสอบผ่านก็ใช้เวลาอีก 5 ปีเรียนปรัชญา ในขั้นที่สาม ผู้ที่เข้ามาเรียนจะมีอายุ
               35 ปี เข้าไปทำงานในตำแหน่งบริหารทั้งฝ่ายพลเรือนและทหาร การทำงานถือว่า

               เป็นการสอบภาคปฏิบัติใช้เวลาอีก 15 ปี ผู้ที่ปฏิบัติงานได้ดีเยี่ยมจะได้เป็นสมาชิก
               คณะราชาปราชญ์ ทำการบริหารรัฐ เปลโตมีความเห็นว่าการเรียนปรัชญาหรือ
               การศึกษาทางปรัชญาด้วยการสนทนาโต้ตอบ จะต้องเป็นผู้ที่เหมาะสม

               อย่างแท้จริง เพราะถ้าเป็นคนที่ไม่มีอินทรีย์แก่กล้าพอการมาเรียนปรัชญาจะกลาย
               เป็นคนกำมะลอและเป็นภัยแก่รัฐ (เปลโต, 2523, หน้า 297-304)


                     แต่เปลโตก็ไม่สามารถหาคนมาเป็นราชาปราชญ์ได้ รูปแบบรัฐในอุดมคติ
               ก็ไม่มีใครนำไปปฏิบัติ รัฐในอุดมคติไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เปลโตจึงเสนอรูปแบบ
               รัฐที่สามารถเป็นได้ (Practical state) ในผลงานชื่อ The Laws และ State man

               โดยเปลโตเสนอให้ใช้กฎหมายเป็นหลัก เป็นองค์อธิปัตย์มากกว่าคน เป็น
               กฎหมายสำหรับทุกคน ในรัฐแบบนี้ชนชั้นที่มั่งคั่งได้รับสิทธิทางการเมืองมากกว่า





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366   367