Page 378 - kpi18886
P. 378
370
Southernmost Provinces were trustworthiness, communication and
participation in peace processes.
Key words: Factors of Collaboration, Community Organizations, Public
Sectors, Reducing Violence, Southernmost Provinces of Thailand
บทนำ
ในทศวรรษที่ผ่านมาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ความรุนแรง
ในสถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งภาครัฐยังไม่สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหา
ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเหตุการณ์ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
สร้างความหวาดกลัว สอดคล้องกับ บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ ศักดา ขจรบุญ ดำรง
เสียมไหม และ วิโชติ จงรุ่งโรจน์ (2551) ระบุว่าภาครัฐพยายามในการแก้ไข
ปัญหาโดยการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ มาตรการ และมีหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเข้ามาเชื่อมโยง ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ตลอดจนได้จัดตั้ง
หน่วยงานที่เป็นสถาบันและองค์กรเฉพาะกิจขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ศูนย์-
อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) หรือศูนย์อำนวยการ
ยุทธศาสตร์สันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นหน่วยงานเฉพาะกิจที่ทำงาน
แก้ไขปัญหาแต่ไม่สามารถคลี่คลายปัญหาได้ สอดคล้องกับ กองวิจัยและพัฒนา
สำนักงานแผนงานและงบประมาณ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ม.ป.ป.) ปัญหา
จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเชิงเดี่ยวจากหน่วยหนึ่งหน่วยใด
เพียงหน่วยเดียว เพราะสภาพปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีรูปแบบปัญหา
เชิงซ้อนที่แตกต่างจากสภาพพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา
การปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการ หรือโครงการต่างๆ ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่
ตำรวจรับผิดชอบพื้นที่สถานีตำรวจที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ปฏิบัติตามจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการป้องกันและแก้ไขใน
ภาพรวม (Macro) และปัญหาในพื้นที่ความไม่สงบนั้นให้ความสำคัญเกี่ยวข้อง
กับความแตกต่างทางด้านอัตลักษณ์ของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(LaFree, Dugan, Fogg, & Scott, 2006)
บทความที่ผานการพิจารณา