Page 379 - kpi18886
P. 379
371
ตัวแปรสำคัญในการแก้ปัญหาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ
กระบวนการที่เกิดจากภายใน พลังของภาคประชาสังคมในพื้นที่ซึ่งควรจะได้รับ
การส่งเสริมให้มีบทบาทเป็นตัวกลาง และ “พื้นที่กลาง” ในกระบวนการสันติภาพ
(ศรีสมภพ จิตต์ภิรมย์ศรี, 2555) ระยะหลังความพยายามเพื่อการลดความรุนแรง
ได้ผลโดยอาศัยภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการสร้าง ความร่วมมือร่วมกัน
อย่างรอบด้าน บรรเทาความรุนแรง ความร่วมมือสามารถสร้างความเข้าใจใน
การลดความรุนแรงด้วยมาตรการ วิธีการต่างๆ เช่น การลดความรุนแรงด้วย
วิธีการสันติภาพต่างๆ ดังนั้น เพื่อการสร้างความร่วมมือให้ประสบความสำเร็จ
ในการลดความรุนแรงได้ต้องอาศัยปัจจัยแห่งความร่วมมือทั้งองค์กรชุมชนและ
ภาครัฐร่วมปรึกษาหารือในการวางแผนร่วมขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันอย่าง
เข้าใจ ไม่เกิดความหวาดระแวงต่อกันในอันที่จะเป็นแนวทางเพื่อการสร้างความ
ร่วมมือที่มีประสิทธิภาพในอนาคต
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาลักษณะความร่วมมือขององค์กรชุมชนกับภาครัฐเพื่อลด
ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
2. เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความร่วมมือขององค์กรชุมชนกับภาครัฐเพื่อลด
ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
นิยามศัพท์
ความร่วมมือขององค์กรชุมชนกับภาครัฐ หมายถึง ความร่วมมือการดำเนินการ
ในการลดความรุนแรงสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้จากทั้ง
องค์กรชุมชนและภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการทำหน้าที่ร่วมกันคลี่คลายความรุนแรง
และสร้างความตระหนักต่อปัญหาการกำหนดอนาคตร่วมกันของผู้คนในพื้นที่และ
แสดงการเคลื่อนไหวการลดความรุนแรงสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้สร้างสรรค์สันติสุขเพื่อลดผลกระทบและขยายปริมณฑลของ
การลดความรุนแรง สภาพโครงสร้างทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ร่วมกัน โยงไปสู่การกำหนดนโยบายที่เหมาะสม
อันสอดคล้องกับวิถีอัตลักษณ์ ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา โดยมีการมีส่วนร่วมเวที
บทความที่ผานการพิจารณา