Page 381 - kpi18886
P. 381
373
สารสนเทศและการสื่อสารที่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องมีการเปิดกว้างทางความคิด
เพื่อให้เกิดการกระตุ้นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมให้
เกิดการเจรจาพูดคุยเกี่ยวกับ ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่แต่ละ
คนมีประสบการณ์ มีการสร้างปฏิสัมพันธ์ระยะยาวร่วมกัน (Agranoff &
McGuire, 2003 : 4; Agranoff, 2006 : 59) ซึ่งสามารถเกิดความร่วมมือได้
นั้นต้องอาศัยปัจจัยที่ส่งผลต่อความร่วมมือเพื่อการลดความรุนแรงในสถานการณ์
ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย แวนเจ็น และ ฮักแฮม (Vangen
& Huxham, 2010 : 164-170) ได้สรุปปัจจัยเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือ ได้แก่
การเรียนรู้ การตั้งเป้าหมาย ร่วมกัน การติดต่อสื่อสารอัตลักษณ์ วัฒนธรรม
การตรวจสอบได้ ความจริงแนวทาง ความเชื่อมั่น ทรัพยากร ผู้นำองค์กรชุมชน
ความรับผิดชอบและการตัดสินใจ
ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มองค์กรชุมชน ประกอบด้วย ผู้นำ
กรรมการ หรือสมาชิกกลุ่ม ผู้ได้รับมอบหมายจากตัวแทนองค์กร พื้นที่ 3 จังหวัด
ชายแดนใต้ และ 4 อำเภอ จังหวัดสงขลา ทั้งในเขตเมืองและชนบท
1. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interview) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key
Informants) การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งสิ้น
16 คน โดยการได้มาซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักมีเกณฑ์จากประสบการณ์ บทบาทหน้าที่
สำคัญในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อการได้มาซึ่งผู้ให้ข้อมูลหลักที่ดี สามารถ
ให้ข้อมูลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อสร้างความร่วมมือในการลดความ
รุนแรง
2. การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ผู้ให้ข้อมูลหลัก
(Key Informants) การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมี
เกณฑ์การเลือกผู้ให้ข้อมูลจากผู้ที่ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จาก
บทความที่ผานการพิจารณา