Page 382 - kpi18886
P. 382
374
4 จังหวัด คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา คือ อำเภอเทพา
จะนะ สะบ้าย้อย และนาทวี ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ องค์กรชุมชน จำนวน 12 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. การสัมภาษณ์เชิงลึก (In–depth Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ
รวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง
2. การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) เครื่องมือที่ใช้ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย
บทสรุป
จากการวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะและปัจจัยแห่งความร่วมมือขององค์กร
ชุมชนกับภาครัฐเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ สรุปผลการวิจัยได้
ดังนี้
1. ลักษณะความร่วมมือเพื่อลดความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
พื้นที่ได้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ของการแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ความไม่สงบนั้น
เกิดจากความหวาดระแวงต่อภาครัฐและจากความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ทำให้ภาครัฐต้องปรับนโยบายกลไกการบริหารยุบกองอำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) และศูนย์อำนวยการ
บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ด้วยความผิดพลาดจึงกลับมาจัดตั้ง
กลไกการทำงานหน่วยงานทั้งสองเหมือนเดิม โดยแบ่งหน้าที่กองอำนวยการรักษา
ความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ดูแลความมั่นคงและ
โครงการต่างๆ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดูแล
การพัฒนาสังคม แต่การบริหารจัดการพื้นที่มีบทบาทของหน่วยงานความมั่นคง
เป็นการทำงานในแนวทางการยึดกฎหมาย พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง
บทความที่ผานการพิจารณา