Page 383 - kpi18886
P. 383
375
ในราชอาณาจักร และพระราชกำหนดฉุกเฉิน ขาดความไว้วางใจต่อกันและ
ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความเป็นธรรมในพื้นที่ได้เท่าที่ควร จึงก่อให้เกิด
การใช้ อำนาจในพื้นที่รัฐอ่อนแอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้กลุ่มองค์กรชุมชน
เป็นกลไกที่อยู่ในระบบรัฐหรือพหุสังคม (Multiracial Society) ที่มีการต่อต้าน
ในรูปแบบต่าง ๆ สะท้อนการตอบโต้ท้าทายของอำนาจรัฐ รัฐต้องปรับบทบาท
มาเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนในพื้นที่การปฏิบัติงานจึงทำให้เกิดแนวความคิดในการ
รวมกลุ่มของผู้คนประชาชนในการดูแลด้านอาชีพ รายได้ สวัสดิการ เพื่อช่วย
เยียวยาและปกป้องฐานทรัพยากรในพื้นที่จากการรวมตัวเป็นกลุ่มองค์กร
เครือข่ายที่มีวัตถุประสงค์ เป้าหมายของกลุ่มองค์กรชุมชนโดยยึดโยงกับผู้คนใน
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในสถานการณ์ที่รัฐ
ไม่สามารถควบคุมจัดการให้ลดผลกระทบได้ จึงมีความพยายามของภาครัฐในการ
จัดตั้งกลไกองค์กรที่มารองรับการทำงานให้กับหน่วยงานของภาครัฐ และการมี
กลไกองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) และภาคประชาชน ตลอดจนนักวิชาการ
นักวิจัย หน่วยงานภายนอกจัดกลไกองค์กรมาเสริมงานของพื้นที่เพื่อหาแนวทาง
ร่วมกับภาครัฐและการเข้ามาตรวจสอบกลไกการทำงานของรัฐในลักษณะ
ความร่วมมือ และปฏิเสธความร่วมมือกับรัฐ แต่จะเน้นการให้ความรู้ความเข้าใจ
และปกป้องสิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชนในพื้นที่ เพราะความรุนแรงในพื้นที่มี
การกระทำความรุนแรงทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งภาครัฐและความรุนแรงจากผู้ก่อความ
ไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
จากความร่วมมือขององค์กรชุมชนกับภาครัฐนั้นในลักษณะการปฏิบัติ
ร่วมกันในหลายลักษณะ เพื่อให้ความร่วมมือเห็นเป็นรูปธรรมที่มีความชัดเจน
ได้แบ่งลักษณะความร่วมมือกับภาครัฐขององค์กรชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ได้ ดังนี้
1.1 ความร่วมมือแบบสั่งการ มีความไม่เท่าเทียมกัน เป็นลักษณะของ
ความร่วมมือขององค์กรที่ถูกจัดตั้ง เพื่อรองรับแนวนโยบายของรัฐในการนำ
นโยบายไปปฏิบัติ และกิจกรรมที่ตอบสนองผลงานและการเป็นกลไกของ
การทำงานหนุนเสริมหน่วยงานภาครัฐการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) กับ
องค์การที่อยู่ในระดับต่ำกว่า หรืออยู่ในระดับล่างลงไป เนื่องจากต้องประสบ
ปัญหาและอุปสรรคจากการเชื่อมความสัมพันธ์กับองค์การที่อยู่ในระดับเดียวกัน
บทความที่ผานการพิจารณา