Page 373 - kpi18886
P. 373
365
ตามคำสั่งของศาลปกครอง ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐ
ควรจะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ชัดเจนถึงการชดเชยที่รัฐต้องมีต่อประชาชน
ที่ได้รับผลกระทบ ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติของรัฐ จากการตรา
กฎหมายของรัฐที่ไปจำกัดเสรีภาพของประชาชน เพราะเสรีภาพที่ประชาชน
สูญเสียไปนั้นแม้จะตีค่าออกมาเป็นราคาเงินตราไม่ได้ แต่ก็มีค่ามีราคาที่ไม่น้อยไป
กว่าอำนาจที่รัฐได้มาจากประชาชน
ในส่วนของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่มี
ผลบังคับใช้แล้ว ประชาชนชาวไทยจะได้รับผลกระทบใดและควรจะมีการเตรียม
พร้อมอย่างไรกับบทบัญญัติที่มีการให้อำนาจรัฐในการจำกัดเสรีภาพของประชาชน
นั้น ในเรื่องผลกระทบนั้น คนไทยก็ยังคงอยู่ในบริบทที่ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญ
ฉบับก่อนหน้า เพราะไม่มีฉบับใดที่มีบทบัญญัติโดยตรงกำหนดให้รัฐต้อง
รับผิดชอบต่อประชาชนที่ได้รับผลจากการจำกัดเสรีภาพโดยรัฐ การเรียกร้อง
ความรับผิดชอบจากรัฐคงไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าที่อธิบายไว้ก่อนหน้า
อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาในวรรค 4 ของมาตรา 25 ของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ว่า “บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจาก
การถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพหรือจากการกระทำความผิดอาญาของบุคคลอื่น
ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ประชาชนก็ควรจะเสนอกฎหมายตามกลไกที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญให้รัฐตรา
กฎหมายที่รับผิดชอบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการจำกัดสิทธิเสรีภาพ
โดยรัฐ เพื่อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและให้ความเป็นธรรมแก่ประชาชน
ที่ได้รับผลกระทบจากการจำกัดสิทธิเสรีภาพอย่างเป็นรูปธรรม
บทสรุป
ในมุมมองของนักปรัชญาการเมืองยุคคลาสสิกทั้งสามท่านคือโซเครติส
เปลโต และอริสโตเติล เสรีภาพโดยสมบูรณ์ในรูปแบบที่ประชาชนจะทำสิ่งใดก็ได้
ตามใจตนเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงในรัฐ รัฐเป็นหน่วยทางการเมืองที่มนุษย์พัฒนา
ขึ้นมาเพื่อให้มีความเป็นอารยะ และเสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์คือการได้อยู่ในรัฐ
และได้พบกับความเป็นตัวตนที่แท้จริงในรัฐ ภายใต้การปกครองของรัฐ ซึ่งแน่ละว่า
รัฐมีอำนาจเหนือกว่าประชาชนและรัฐมีความชอบธรรมใช้อำนาจในการกำหนด
บทความที่ผานการพิจารณา