Page 386 - kpi18886
P. 386
378
การเคลื่อนไหวของการทำงานภาครัฐและสิทธิมนุษยชนในการทำงานของกลุ่มวิชา
การ กลุ่มประชาสังคม กลุ่มสื่อสาร เพื่อการแสดงแนวความคิด ความคิดเห็นของ
กลุ่มจะมีความอิสระ การตัดสินใจ และการให้คำปรึกษาต่อฝ่ายนโยบายของรัฐ
ในการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยศักยภาพและเป็นแกนนำที่มี
อิทธิพลและบารมี ความเชื่อ เช่น ผู้นำ โต๊ะครู โต๊ะอิหม่าม และคณะกรรมการ
อิสลามประจำจังหวัด นักวิชาการ นักวิจัยที่ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่มีอิทธิพลต่อความคิด การนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางต่อหน่วยงาน
ภาครัฐในพื้นที่และต่อหน่วยงานนโยบายภาครัฐ
สรุปได้ว่า รูปแบบความร่วมมือทั้ง 3 รูปแบบนี้เป็นกลไกที่สัมพันธ์กัน
ระหว่างกลุ่มองค์กรชุมชนในพื้นที่ ซึ่งมีศักยภาพความรู้ความสามารถ ความเข้มแข็ง
และอุดมการณ์การทำงานที่มีความสัมพันธ์ที่ยึดโยงกับความเชื่อศรัทธา ทำให้เกิด
อำนาจต่อรองและมีความเกรงใจและเชื่อใจในการทำงานแบบร่วมมือจนสามารถ
เกิดการพัฒนาและสร้างความสำเร็จในความร่วมมือเพื่อการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
กับภาครัฐได้
2. เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความร่วมมือขององค์กรชุมชนกับภาครัฐเพื่อลด
ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความสงบสุข
ก่อให้เกิดสันติสุขการดำรงชีวิตร่วมกันที่ดีต่อไป และปัจจัยความร่วมมือแห่งความ
ร่วมมือที่ประสบความสำเร็จมีดังต่อไปนี้
2.1 ปัจจัยความไว้วางใจ พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มี
ความแตกต่างมากมายในหลายสิ่งหลายอย่างในการร่วมทำงานร่วมกันอย่างมี
ความสุข อันนำไปสู่การทำงานร่วมกัน ด้วยความไว้วางใจ (Trust) ที่มีต่อกันอย่าง
เข้าใจ มีความเชื่อมั่นต่อกันในการทำงาน จากการศึกษา พบว่า ความไว้วางใจ
มีความสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้หน่วยงาน องค์กรสามารถ
ดำรงและคงอยู่ได้การปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายและประสบความสำเร็จ เพราะ
การปฏิบัติงานร่วมกันต้องมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ปัจจุบันในการทำงาน
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีการปฏิบัติงานร่วมกันหลากหลายองค์กร ดังนั้น
เพื่อให้การปฏิบัติงานร่วมกันต้องอาศัยความไว้วางใจที่มีต่อกันในการร่วมกัน
ปฏิบัติงานเพื่อร่วมมือในการแก้ไขปัญหา ความไว้วางใจเป็นการสร้างความรู้สึก
บทความที่ผานการพิจารณา