Page 475 - kpi18886
P. 475

467




                   และนามธรรม ในยุคสมัยของ คสช. มีหลายบริบทที่สนับสนุนการคงอยู่ และ

                   ส่งเสริมบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาทินโยบายตำบลละ 5 ล้านบาท ที่เป็น
                   นโยบายการให้เม็ดเงินลงไปสู่ชนบท โดยเป็นนโยบายที่กำหนดให้กำนัน
                   ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ และบริหารงานเงินเหล่านั้น มีจุดประสงค์เพื่อให้

                   กำนัน ผู้ใหญ่บ้านนำเงินไปพัฒนาชุมชนของตน ด้วยการให้เขียนแผนโครงการ
                   ที่จะทำมาเสนอต่อนายอำเภอก่อน เหล่านี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงการให้สำคัญกับ
                   กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของยุคสมัยนี้


                         ความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยแต่ยังคงอยู่ภายใต้ขั้วอำนาจเดิม ทำให้

                   ความเจริญของท้องถิ่นถูกทับซ้อนกันอย่างยากที่จะเปลี่ยนแปลง ความเจริญของ
                   ท้องถิ่นทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีบทบาทมากขึ้น เพราะความเป็นนิติบุคคล
                   ที่ทำให้การบริหารจัดการมีความรวดเร็ว แก้ปัญหาให้กับชาวบ้านได้ตรงจุด และ
                   มีความครอบคลุมกว่าการบริหารจัดการของภาครัฐที่ต้องผ่านการจัดการ

                   หลายระบบ เช่น หากประชาชนในหมู่บ้านเกิดปัญหาให้ไปแจ้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
                   จากนั้นกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจึงไปแจ้งปลัดอำเภอ ปลัดอำเภอนำเรื่องเข้านายอำเภอ
                   จะเห็นได้ว่า ด้วยระบบการทำงานที่ซับซ้อนกว่า ทำให้การบริหารจัดการเรื่องใด

                   เรื่องหนึ่งต้องใช้เวลาดำเนินการนานกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้องค์การบริหาร
                   ส่วนตำบลดูจะมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาที่รวดเร็วมากกว่ามาก แม้ว่าความทับ
                   ซ้อนของระบบที่มีอย่างยาวนานของไทย ทำให้ระบบกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่เคยมี

                   บทบาทอย่างมากกับถูกลดบทบาทลง แต่ในทางปฏิบัติกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงมี
                   บทบาทอย่างมากในชนบท เป็นผู้ประสานงานกับปลัดอำเภอ นายอำเภอ เพื่อ
                   นำความเจริญมาสู่ท้องถิ่น ซึ่งหากขาดผู้ประสานงานที่ดีก็จะเกิดคำถามต่อมาว่า

                   ปลัดอำเภอ และนายอำเภอจะยังคงมีบทบาทต่อไปในทิศทางใด

                         การบริหารงานของภาครัฐในรูปแบบรัฐรวมศูนย์ ภาครัฐย่อมให้ความ

                   สำคัญกับการบริหาร และกระจายความเจริญผ่านระบบโครงสร้างราชการ
                   ในขณะที่สังคมชนบทมีความเจริญ และพึ่งพาตนเองมากขึ้น ซึ่งความเจริญในที่นี้
                   รวมถึงความเจริญทางความคิด วัฒนธรรม และการความเจริญทางสภาพแวดล้อม

                   เหล่านี้ล้วนทำให้กลไกเดิมที่มีถูกทับซ้อนกับความเจริญ และการเปลี่ยนแปลง
                   ที่เกิดขึ้น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจึงไม่ต่างจากสัญลักษณ์ของรัฐราชการที่เด่นชัดที่สุด






                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   470   471   472   473   474   475   476   477   478   479   480