Page 474 - kpi18886
P. 474

466




               ข้าราชการนั้นได้รับการยอมรับนับถือ และให้ความสำคัญของการดำรงอยู่ของ

               ตำแหน่งนี้เป็นอย่างยิ่ง (ไพบูลย์ ช่างเรียน, 2520, น. 31-37; น.9)


                     กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีสถานะเป็นสถาบันที่เป็นผู้แทนของรัฐซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
               ของโครงสร้างการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่มีจังหวัด และอำเภอเป็นโครงสร้าง
               ส่วนบนอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งกำนันผู้ใหญ่บ้านนั้นปฏิบัติงานอยู่ในระดับล่างสุดของรัฐ
               และใกล้ชิดสนิทสนมประชาชนในท้องที่เป็นอย่างมาก โดยมีหน้าที่สำคัญคือ

               ช่วยประสานงานเรื่องต่างๆ ไม่ว่าเป็นการประชุมหมู่บ้าน และการแจ้งข่าวสารของ
                                    1
               ทางราชการให้ทราบ  ในขณะเดียวกันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีสถานะ และ
               มีบทบาทเป็นผู้แทนของประชาชน เป็นผู้นำของชุมชน ด้วยเหตุที่ว่าไม่มีสถานะ
               เป็นข้าราชการของหน่วยงานภาครัฐอย่างเต็มตัว อีกทั้งไม่ได้ทำงานให้แก่ทาง
               ราชการอย่างเต็มเวลา บทบาทหน้าที่เช่นนี้เองส่งผลให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่
               ต้องดูแลทุกข์สุขของประชาชนในด้านต่างๆ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภายใต้บริบทของ

               กระแสการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในปัจจุบัน ก็มีการตั้งคำถามประเด็นการคงอยู่
               ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบันทั้งมิติด้านการบริหารจัดการ ด้านการเมือง ด้าน
               วัฒนธรรมชุมชน หรือแม้แต่การกระจายอำนาจ และไม่ว่าการคงอยู่ของกำนัน

               ผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบันเกิดการประนีประนอมทางอำนาจกันระหว่างแนวคิดรวม
               ศูนย์อำนาจ (Decentralization) ของระบบราชการ (Centralization) กับแนวคิด
               การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (Decentralization) หรือแม้การเกิดผลประโยชน์

               ทับซ้อน (Conflict of Interest) ทางการเมืองในการพยายามรักษาฐานเสียง
               ในระดับชุมชนเป็นปัจจัยที่มาแทรกก็ตาม (ไททัศน์ มาลา, 2556, น.6-7) แต่ผล
               ที่เกิดขึ้น ย่อมนำไปสู่ความท้าทายของบทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ดำรงอยู่ใน

               สถานะสถาบันที่นำนโยบายไปปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างยิ่ง

                     ในแต่ละยุคสมัยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะยังคงความสำคัญ และมีบทบาท

               อยู่เสมอ โดยเฉพาะกับกระทรวงมหาดไทย ความเชื่อมโยงกันทางระบบการทำงาน
               หรือความเอื้อเฟื้อต่อกันที่มีเสมอมา เป็นสิ่งที่เห็นได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นรูปธรรม



                   1   จากประสบการของผู้เขียน ในพื้นที่นั้น กำนัน ผู้ใหญ่บ้านไม่ได้เป็นแค่เพียงผู้ประสานงาน
               และแจ้งข่าวสารจากทางราชการเท่านั้น แต่เป็นผู้นำ ที่ชักนำร่วมโครงการ ที่มาจากนโยบายของ
               รัฐ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติร่วมกัน มิใช่แค่เป็นเพียงตัวกลางเท่านั้น




                    บทความที่ผานการพิจารณา
   469   470   471   472   473   474   475   476   477   478   479