Page 500 - kpi18886
P. 500

492




               มีส่วนร่วมในยุทธศาสตร์ชาติมากขึ้น รวมถึงได้รับความร่วมมือจากชาวบ้าน

               และมีโอกาสที่นโยบายจะประสบความสำเร็จ โดยที่รัฐต้องยอมรับว่า ข้าราชการ
               ไม่ว่าจะเป็นนายอำเภอ หรือปลัดอำเภอต่างก็ต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ
               เหล่านี้เพื่อนำนโยบายรัฐเข้าหาชุมชน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมขึ้น

               ดังนั้นหากต้องการให้ยุทธศาสตร์ชาติสามารถเป็นรูปร่างขึ้นจริง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
               ก็เป็นกลไกหลักที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายรัฐที่รัฐจะมองข้ามไม่ได้ ในกรณีนี้หากรัฐ
               มีการบริหารจัดการที่ดีย่อมมีโอกาสที่รัฐจะได้รับผลงานที่คุ้มค่ากับอัตราที่จ่ายไป

               ให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐเหล่านั้น


                     บทบาทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังคงดำเนินอยู่ และยังคงความสำคัญไว้ได้
               ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะเผชิญกับกระแสต่อต้าน หรือการเปลี่ยนแปลง
               โครงสร้างการบริหารที่มากระทบกับความมั่นคงทางอาชีพของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
               ตลอดมาก็ตาม แต่ระยะเวลาการคงอยู่ดังกล่าวเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า กำนัน

               ผู้ใหญ่บ้านยังคงเป็นตัวกลางคนสำคัญระหว่างรัฐ และชาวบ้านตลอดมา
               เมื่อวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่รัฐต้องการที่จะให้เกิดขึ้นนั้น จำเป็นที่รัฐ
               จำเป็นต้องประสานงาน ทำงานร่วมกันกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำนโยบายรัฐ

               ไปสู่ประชาชน เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และมีผลสัมฤทธิ์ตามที่รัฐ
               คาดหวัง ซึ่งผู้เขียนขอเสนอกลไกของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
               ชาติไปปฏิบัติ 6 ประการ คือ 1) การปฏิบัติกิจในฐานะที่เป็นกำนัน

               ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งต้องปฏิบัติภารกิจตามที่กฎหมายกำหนด 2) กลไกการสร้างพื้นที่
               การสื่อสารร่วมกัน สร้างความเข้าใจเพื่อประสานงานประชาชนในพื้นที่ 3) เป็น
               สถาบันหลักๆ ของท้องที่ระดับจุลภาค ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการบูรณาการ

               ระหว่างยุทธศาสตร์ชาติ มาสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด และวางแผนพัฒนาหมู่บ้าน และ
               บริหารกิจกรรมที่ดำเนินในหมู่บ้านหรือพื้นที่ให้สอดคล้องกัน 4) บทบาทหน้าที่
               ผู้นำเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชนเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติด้าน

               ความมั่นคง 5) กลไกที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์กับระบบราชการและ
               การเมืองระดับชาติ 6) การใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นการใช้กลไกที่มี
               อยู่เดิมเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ โดยทั้ง 6 ประการข้างต้นยึดเหตุผล

               ประการสำคัญที่ว่าการพัฒนาหมู่บ้านเป็นการพัฒนาที่ต้องช่วยเหลือร่วมมือกัน
               และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันทำงาน สร้างความผูกพันร้อยรัดคนในหมู่บ้านด้วย





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   495   496   497   498   499   500   501   502   503   504   505