Page 496 - kpi18886
P. 496

488




               ผู้นำ (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นประธานคณะกรรมการหมู่บ้านตามกฎหมาย (สถาบัน

                                            4
               พระปกเกล้า, น.9) การประชุม  เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการบริหารงาน
               เพราะกลไกนี้ได้มีการแลกเปลี่ยน ระดม สมอง รวมทั้งการตัดสินใจ ร่วมกัน
               เพราะเมื่อมีการสั่งการใดๆ หรือนโยบายใดที่มาจากยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ผู้ใหญ่

               บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน นำการสั่งการ นโยบายจากรัฐมาวิเคราะห์
               การวางแผน แนวทางดำเนินการ รวมถึงการแก้ปัญหาต่างในการบริหารพัฒนา
               หมู่บ้านด้วย เมื่อการนำไปใช้ในพื้นที่หมู่บ้านสำเร็จ การนำยุทธศาสตร์ชาติไปใช้

               ย่อมสำเร็จเช่นกัน


                     อนึ่งหากเราพิจารณาลงลึกถึงการใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่กำเนิด
               โดยตามพระราช-บัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.สง 2457 มาตรา 28 ตรี
               ประกอบกับระเบียบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเป็นคณะกรรมการ
               หมู่บ้านฯ พ.ศ. 2551 กรรมการหมู่บ้านถือเป็นกลไกที่มีความสำคัญในการ

               ช่วยเหลือแนะนำ และให้คำปรึกษาผู้ใหญ่บ้านและปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ
               แบบแผนทางราชการหรือนายอำเภอมอบหมายหรือผู้ใหญ่บ้านร้องขอ ทั้งนี้เมื่อ
               แผนพัฒนา หมู่บ้าน และกิจกรรมที่ดำเนินการในหมู่บ้านร่วมกับองค์กรอื่น

               ทุกภาคส่วน กลไกนี้เป็นกลุ่มหลักที่เข้าไปบูรณาการเรื่องแผนดังกล่าว เมื่อกลไกนี้
               เข้าไปบูรณาการแผนหมู่บ้านได้แล้ว การเชื่อมโยงสอดประสานระหว่าง
               แผนยุทธศาสตร์จังหวัด และต่อเนื่องถึงยุทธศาสตร์ชาติ ย่อมล้อไปด้วยกันใน

               ลักษณะจากบนลงล่าง และนอกจากนี้ยังเป็นการกลไกที่ดึงเอามวลชน และ
               กลุ่มองค์กรชุมชนในระดับพื้นที่เข้ามาเป็นภาคีร่วม (ไททัศน์ มาลา, 2555, น.84)


                     ซึ่งกลไกคณะกรรมการหมู่บ้านที่ทำงานร่วมกับผู้ใหญ่บ้านนั้น ยึดเหตุผล
               ประการสำคัญว่าการพัฒนาหมู่บ้านเป็นการพัฒนาที่ต้องช่วยเหลือร่วมมือกัน และ
               แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกันทำงาน สร้างความผูกพันร้อยรัดคนในหมู่บ้านด้วยกายใจ


                   4   การประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านนั้น ประธานคณะกรรมการหมู่บ้าน คือผู้ใหญ่บ้าน
               ต้องมีการจัดประชุมอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยเป็นการประชุมหลังจาก 7 วัน
               หลังจากการประชุมประจำเดือนของกำนันผู้ใหญ่บ้านที่นายอำเภอเรียกประชุม โดยผู้ใหญ่บ้านนั้น
               เป็นผู้ประสานคณะกรรมการผู้บ้าน จะกำหนดวันเวลาการประชุม เพื่อนำข้อราชการ การสั่งการ
               นโยบายมาวางแผน เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินงานรวมทั้งปัญหาต่างๆ ในการบริหารการพัฒนา
               หมู่บ้าน




                    บทความที่ผานการพิจารณา
   491   492   493   494   495   496   497   498   499   500   501