Page 495 - kpi18886
P. 495
487
รวดเร็ว การกระจุกตัวการพัฒนาเฉพาะพื้นที่หน่วยใดหน่วยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิด
ปัญหาคุณภาพชีวิต ความเหลือล้ำ การแย่งชิงทรัพยากรดินน้ำป่า เป็นต้น
4. บทบาทหน้าที่ผู้นำเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของชุมชนเชื่อม
ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ความมั่นคงมีแนวทาง
การพัฒนาที่เรียกว่า “การรักษาความมั่นคงภายใน” ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัย
ผู้นำในพื้นที่ทั้งด้านข่าวสารในพื้นที่ การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความปั่นป่วนแก่
บ้านเมืองซึ่งข่าวสารที่น่าเชื่อถือนี้เอง เป็นการป้องกัน ป้องปรามมิให้เกิด
ความรุนแรงในพื้นที่ได้เช่น แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น
บ่อนการพนัน ยาเสพติด ขบวนการแบ่งแยกดินแดนในสามจังหวัดชายแดนใต้
ตลอดจนความมั่นคงภายในที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งโดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
สนับสนุนให้ประชาชนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อย
และหาข่าวในหมู่บ้าน
5. กลไกที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์กับระบบราชการและ
การเมืองระดับชาติ ยุทธศาสตร์ชาติไม่เพียงแต่มีระบบราชการขับเคลื่อนส่วนหลัง
เท่านั้น แต่ยังกำหนดโดยแนวคิดทางการเมืองในยุคปัจจุบัน ซึ่งผู้เขียนพบว่า
การคงอยู่ของสถาบันกำนัน ผู้ใหญ่บ้านได้ปรับตัว และคงอยู่ได้ได้ระหว่างอำนาจที่
พิเศษแนบแน่นกับส่วนราชการส่วนกลาง และภูมิภาค โดยเฉพาะมหาดไทย
ต่างมีความสัมพันธ์ต่างพึ่งพากัน โดยส่วนราชการยังคงต้องพึ่งพาฐานของกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านเพื่อตอบสนองนโยบาย และเชื่อมสอดประสานระหว่างโครงสร้าง
ส่วนบน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติที่ได้รับการขานรับให้ได้รับความชอบธรรมกับ
ชุมชนท้องถิ่นในท้องที่ ร่วมกันกับสถานะทางสังคมในพื้นที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ที่เป็นผู้มีบารมีได้รับความเคารพนับถือจากชาวบ้าน ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทาง
อำนาจต่อรองกับการเมืองระดับชาติได้ดังเช่น การเคลื่อนไหวของสมาคมกำนัน
ผู้ใหญ่บ้านที่ไม่ได้รับการจัดการโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ดังเช่น
กลุ่มเคลื่อนไหวกลุ่มอื่นๆ (ข้อสังเกตจากงาน ธัชภรณ์ ศรีเมือง, 2560)
6. การใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นการใช้กลไกเดิมเพื่อสนับสนุน
ยุทธศาสตร์ชาติ ที่สำคัญคือการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน เพราะนอกจาก
บทความที่ผานการพิจารณา