Page 507 - kpi18886
P. 507
499
แตกต่าง (divided society) แต่สามารถประคับประคองและพัฒนาการเมือง
ภายใต้ประชาธิปไตยไว้ได้ จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการถอดบทเรียนเพื่อ
เปรียบเทียบให้กับสังคมการเมืองไทยหลังรัฐธรรมนูญใหม่ที่ยังมีความแตกต่าง
หลากหลายทางการเมืองสูง
ด้วยเหตุนี้ทำให้บทความพยายามถอดบทเรียนจากยุทธศาสตร์ชาติและ
การปฏิรูปรัฐธรรมนูญของโคลัมเบียและมอลโดวา เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับ
การวางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของไทย ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช
2560 ในปัจจุบัน ว่าจำเป็นต้องมีการให้อำนาจการจัดการปกครองแบบมีส่วนร่วม
จากกลุ่มทางการเมืองต่างๆ เพื่อสร้างสถาบันทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
(democratic institutions) (Fund and Wright, 2003; Smith, 2009) ผ่านการ
มีส่วนร่วมและแบ่งปันอำนาจระหว่างตัวแสดงทางการเมือง
บทความนี้ประกอบไปด้วยสามส่วนสำคัญ ส่วนแรกกล่าวถึงกรอบ
การศึกษาเรื่องการวางยุทธศาสตร์และการปฏิรูปสถาบันการเมืองแบบการจัดการ
ปกครองแบบมีส่วนร่วมในฐานะแว่นสำหรับวิเคราะห์ปรากฎการณ์ในโคลัมเบีย
มอลโดวา และไทย ส่วนที่สองจะกล่าวถึงการวางยุทธศาสตร์ชาติผ่านการปฏิรูป
รัฐธรรมนูญอย่างมีส่วนร่วมของโคลัมเบียและมอลโดวาเพื่อดูกระบวนการ
การสร้างประชาธิปไตยในประเทศโลกที่สาม (the new democracies) ที่ประสบ
ความสำเร็จในการสร้างประชาธิปไตยที่จะไม่ต้องเผชิญกับการรัฐประหารอีก
(Linz and Stepan, 2001, pp. 93-95) และส่วนสุดท้ายจะกล่าวถึงผลลัพธ์ของ
การปฏิรูปและบทเรียนสำหรับการวางแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของไทยภายใต้
รัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในอนาคต
2. การวางยุทธศาสตร์และการปฏิรูปสถาบันการเมืองแบบ
การจัดการปกครองแบบมีส่วนร่วม (Empowered Participatory
Governance)
สำหรับบทความนี้จะมองยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปรัฐธรรมนูญของ
โคลัมเบียและมอลโดวาจากการศึกษาประชาธิปไตยและการออกแบบสถาบัน
การเมืองในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องสนใจการเมืองในฐานะที่เป็น “ชีวิตทาง
บทความที่ผานการพิจารณา