Page 511 - kpi18886
P. 511
503
กับภาคปฏิบัติ (practical orientation) ของกรอบ “การจัดการปกครองแบบมี
ส่วนร่วม” และการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เห็นได้ชัด (manifest political
participation) จึงสามารถนำมาใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดสรรสิ่งที่มี
คุณค่าในสังคมผ่านกลไกเชิงสถาบันและการพัฒนาสถาบันทางการเมืองด้วย
การตอบสนองข้อเรียกร้องและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนได้ และ
เป็นฐานสำคัญสำหรับประเทศประชาธิปไตยใหม่กับการมีสถาบันการเมืองเพื่อ
จัดการกับข้อเรียกร้องที่มาจากประชาชน ที่ดูกรณีศึกษาได้จากประเทศโคลัมเบีย
และมอลโดวาในส่วนถัดไป
3. การวางยุทธศาสตร์ชาติผ่านการปฏิรูปรัฐธรรมนูญอย่าง
มีส่วนร่วม: โคลัมเบียและมอลโดวา
ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการเปรียบเทียบยุทธศาสตร์ชาติผ่านการปฏิรูป
รัฐธรรมนูญอย่างมีส่วนร่วมของโคลัมเบียและมอลโดวาตามตารางที่ 2 ที่จะกล่าว
โดยรายละเอียดดังต่อไปนี้
บทความที่ผานการพิจารณา