Page 508 - kpi18886
P. 508
500
การเมือง” (political life) ที่บริบททางสังคมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทาง
การเมือง และการเมืองกระทบอย่างมีปฏิสัมพันธ์กับสถาบันการเมือง (March
and Olson, 1984; Pierson and Skocpol, 2002) การตัดสินใจของ
ปัจเจกบุคคลต่อสถาบันการเมืองจึงไม่ใช่เพียง “การเลือกตั้ง” แต่จำเป็นต้อง
รวมถึงทุกการตัดสินใจภายใต้กฎระเบียบ บรรทัดฐาน ยุทธศาสตร์ การจัด
องค์การ และเทคโนโลยี ที่สร้างแบบแผนการมีส่วนร่วมทางการเมือง การปฏิรูป
รัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่เพียง “สถาบันการเมืองแบบเดิม” ที่มีลักษณะบนลงล่าง
แต่เป็น “สถาบันนิยมแบบใหม่” (new institutionalism) ที่มองปฏิสัมพันธ์
ของกลุ่มและตัวแสดงทางการเมืองต่างๆ ทั้งในด้านของการรักษาระเบียบ (order)
และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (change) รวมถึงการสร้างสมดุล (balancing)
ของทั้งสองด้าน (Hall and Taylor, 1996; Olsen, 2010, pp. 16-17; Steinmo,
2010)
ด้วยเหตุนี้ การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับพรรคการเมือง
จึงจำเป็นต้องมองไปให้ไกลกว่า “การเลือกตั้ง” นำมาสู่การศึกษาในกรอบ
ความคิดรวบยอดเรื่องการให้อำนาจการจัดการปกครองแบบมีส่วนร่วม
(Empowered Participatory Governance: EPG) หมายถึง การสร้างรูปแบบ
การจัดการปกครองแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประชาธิปไตยด้วย
ภาคปฏิบัติ (democratic practice) ในพื้นที่ของการกำหนดนโยบายและ
การตัดสินใจทางอำนาจต่างๆ จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมในระดับทั้งสถาบัน
และสังคม (Fund and Wright, 2003, p. 15) ที่ต้องประกอบไปด้วยหลักการ
3 ข้อคือ
1) การให้ความสนใจกับภาคปฏิบัติ (practical orientation)
2) การมีส่วนร่วมจากล่างสู่บน (bottom-up participation)
3) กระบวนการแก้ไขปัญหาด้วยการปรึกษาหารือ (deliberative solution
generation)
การศึกษาในกรอบความคิดรวบยอดเรื่องการให้อำนาจการจัดการปกครอง
แบบมีส่วนร่วมในงานของ Fund and Wright (2003, p. 30) เน้นในเรื่อง
การสร้างประชาธิปไตยจาก “ภาคปฏิบัติ” ว่าหากประชาชนและองคาพยพอื่นๆ
บทความที่ผานการพิจารณา