Page 19 - kpi20125
P. 19
การเกิดหรือไม่เกิดอุบัติเหตุทางถนนมีความสัมพันธ์กันระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ การ
ที่คนมีความรู้เพียงอย่างเดียวไม่ได้เป็นหลักประกันว่าบุคคลนั้นจะปฏิบัติตามสิ่งที่รู้มา หากแต่ทัศนคตินั้นจะ
ช่วยก าหนดให้เกิดการปฏิบัติด้วยเช่นกัน ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติอาจจะเป็น
ความสัมพันธ์กันทั้งแบบทางตรงและทางอ้อมและเป็นได้หลายแบบ เช่น ความรู้และทัศนคติสัมพันธ์กันจน
ท าให้เกิดการปฏิบัติ หรือความรู้และทัศนคติอาจไม่สัมพันธ์กันแต่ท าให้เกิดการปฏิบัติ (พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา
และคณะ, 2555, น.7-8)
2.ยานพาหนะ ได้แก่ ยานพาหนะมีสภาพเก่า ขาดการบ ารุงรักษา และมีการดัดแปลงสภาพจนท าให้
ยานพาหนะไม่สามารถใช้งานได้เต็มสมรรถนะ เช่น รถโดยสารที่มีการดัดแปลงสภาพด้วยการเพิ่มที่นั่ง
ผู้โดยสารและติดตั้งระบบแก๊สเป็นเชื้อเพลิง ท าให้น้ าหนักรวมของตัวรถเปลี่ยนแปลงจากเดิม ซึ่งจะมีผลต่อ
การควบคุมรถ การเลี้ยวรถ และการหยุดรถอย่างฉุกเฉิน ท าให้พบเจออุบัติเหตุบ่อยครั้งจากการหลุดโค้ง
ท้ายปัด ล้อล็อคไถล เป็นต้น หรือกรณียานยนต์เสื่อมสภาพ อุปกรณ์รถช ารุดไม่สามารถใช้งานได้จริง เช่น ถุง
ลมนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ไฟสัญญาณเลี้ยว หรือไฟเบรก ระบบเบรกไม่ท างาน ล้อยางสึก ยางปัดน้ าฝน
เสื่อมสภาพ เป็นต้น
3.ถนนและสภาพแวดล้อม ได้แก่ 1) ถนน มีลักษณะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น ทางโค้งลงเนินที่
มีความชันสูงและมีระยะทางยาว ทางแยกไม่เหมาะสมและก่อให้เกิดอุบัติเหตได้ง่าย ไหล่ทางแคบหรือไม่มี
ไหล่ทาง จุดกลับรถไม่เหมาะสม พื้นผิวถนนเสื่อมขรุขระเป็นหลุม ความกว้างและช่องทางเดินรถไม่เหมาะสม
การไม่มีเส้นจราจรหรือแนวกันถนนกรณีรถสวนกัน เป็นต้น 2) สภาพแวดล้อม มีผลกระทบจากการไม่มี
สัญญาณจราจรหรือการเตือนที่ชัดเจน ตลอดจนสภาพแวดล้อมข้างทางที่รบกวนการขับขี่ เช่น ป้ายเตือน
ป้ายแนะน า ป้ายบังคับ เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา ต้นไม้ข้างทาง การเผาวัสดุข้างทาง หรือแม้กระทั่งอุปสรรค
ทางธรรมชาติอย่างหมอกที่ลงหนาจัด ฝนที่ตกอย่างหนัก หรือน้ าท่วมทาง ก็สามารถท าให้เกิดอุบัติเหตุ
เช่นกัน
หากมองในภาพกว้างระดับนโยบาย สภาพแวดล้อมอันเกิดจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมก็มีผล
ต่ออัตราการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนในภาพรวม จากการศึกษาของ Azetsop ได้ท าการศึกษาที่พอสรุปได้
ว่าการศึกษา รายได้ และแหล่งที่อยู่อาศัยมีผลต่อสภาวะสุขภาพ นั่นคือปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจนั้นส่งผลให้
คนที่มีรายได้น้อย การศึกษาไม่มาก และอยู่อาศัยในที่ที่สภาพแวดล้อมไม่ดีนักมีโอกาสเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากกว่าคนที่มีรายได้สูงกว่า มีการศึกษาดีกว่า และอาศัยใน
สภาพแวดล้อมที่ดี ท านองเดียวกัน ผู้ที่มีการศึกษาที่ดีมีผลต่อรายได้ที่มากขึ้นและส่งผลต่อการเลือกใช้
รูปแบบการเดินทางที่มีความเสี่ยงน้อยลง (Azetsop, 2010, p.119)
2.3 นโยบายและมาตรการด้านความปลอดภัยบนท้องถนน
แนวทางโดยทั่วไปเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรบนท้องถนนมีหลัก 3 ประการ หรือที่
เรียกว่า 3E ได้แก่ การศึกษา (Education) วิศวกรรม (Engineering) การบังคับใช้กฎหมาย (Enforcement)
ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้ (พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา และคณะ, 2555, น.9)
1.การศึกษา เป็นการให้ความรู้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนนอย่างถูกต้องจนเกิดการปรับเปลี่ยนค่านิยมและ
ทัศนคติและน าไปสู่พฤติกรรมการปฏิบัติที่ถูกต้องและปลอดภัย เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎการจราจร
ความรู้เกี่ยวกับเครืองหมายและสัญญาณจราจร ความรู้ในการใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย การจัดหลักสูตร
ความปลอดภัยในชีวิตประจ าวันให้กับโรงเรียนระดับประถมศึกษา การเผยแพร่ความรู้และรณรงค์ผ่านสื่อ
โทรทัศน์ เป็นต้น
7