Page 16 - kpi20207
P. 16

การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation) : แนวคิด ประสบการณ์
                                    และข้อเสนอรูปแบบสำาหรับการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ  15

                             บทบัญญัติในมาตราดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของ

                     รัฐธรรมนูญที่มุ่งนำาการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและการวิเคราะห์
                     ผลกระทบในการออกกฎหมาย หรือ Regulatory Impact Assessment
                     (RIA) มาใช้เป็นเครื่องมือในการยกระดับกระบวนการจัดทำากฎหมาย

                     ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวคิดกฎหมายที่ดี
                     (good regulation) หรือกฎหมายที่ดีกว่า (better regulation) ซึ่งเป็น

                     เป็นแนวคิดที่รัฐบาลของประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกได้นำามาใช้เพื่อพัฒนา
                     กฎหมายให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับสภาพการณ์ รวมทั้งยกเลิกหรือ
                     ปรับปรุงกฎหมายที่ล้าสมัยหรือเป็นอุปสรรคต่อการดำารงชีวิต การประกอบ

                     อาชีพหรือธุรกิจอันจะนำามาซึ่งการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของ
                           2
                     ประเทศ  อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากกระบวนการจัดทำากฎหมายของ
                     ประเทศไทยที่ผ่านมาแล้ว การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอาจ
                     มิใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากก่อนการเสนอร่างกฎหมายใดๆ เข้าสู่การพิจารณา
                     ของคณะรัฐมนตรี หน่วยงานเจ้าของร่างกฎหมายมักจะได้นำาร่างดังกล่าว

                     มารับฟังความคิดเห็นตามหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบกับ
                     กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในประเทศไทยนั้นได้มีการนำามาใช้ในเรื่อง

                     ที่มีผลกระทบต่อนโยบายสาธารณเสมอมา อาทิ การจัดทำาโครงการด้าน
                     พลังงานหรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำาคัญกับกระบวนการรับฟัง
                     ความคิดเห็นของประชาชนดังกล่าว จึงได้จัดทำาระเบียบสำานักนายกรัฐมนตรี

                     ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. 2539
                     และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2548 โดยมีการกำาหนดนิยาม วิธีการของการรับฟัง

                     ความคิดเห็นไว้


                    2   ดูตัวอย่างการนำาแนวคิดกฎหมายที่ดีหรือกฎหมายที่ดีกว่าไปใช้เป็นหลักการสำาคัญใน
                    กระบวนการจัดทำากฎหมาย เช่น กรณีประเทศอังกฤษใน Better Regulation task Force
                    (2003) และ National Audit Office (2001) กรณีสหภาพยุโรปใน European Commission
                    (2015) เป็นต้น







         01-142 PublicConsult_ok.indd   15                                     22/6/2562 BE   17:26
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21