Page 31 - kpi20207
P. 31
30
ปรึกษาหารือในการบริหารปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างหนึ่ง และ
มีความสอดคล้องกับแนวคิดการปรึกษาหารือสาธารณะที่โดยภาพรวม
ถือเป็นทั้งวิธีการและเครื่องมือสำาคัญที่ช่วยยกระดับการบริหารภายใต้
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และ
มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น (Rodrigo and Amo, 2006: 1)
ในความหมายอย่างกว้าง การปรึกษาหารือสาธารณะเป็น
กระบวนการแสวงหาข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไป
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือกฎหมายที่มีผลกระทบต่อผู้คน
กลุ่มต่างๆ หรือประชากรทั้งหมดโดยภาพรวมเพื่อนำาไปใช้ในการตัดสินใจ
5
สาธารณะ ในความหมายนี้ การปรึกษาหารือสาธารณะคือการทำาให้
ประชาชนสามารถใช้อำานาจในการตัดสินใจทางการเมืองของตนเองได้
โดยตรง การดำาเนินการปรึกษาหารือสาธารณะจึงต้องให้ความสำาคัญกับ
ศักยภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนผู้เกี่ยวข้องและการนำา
ข้อคิดความเห็นดังกล่าวมาพิจารณาตอบสนองอย่างมีนัยยะสำาคัญของรัฐบาล
ในฐานะตัวแทนผู้ใช้อำานาจของประชาชน (Bishop and Davis, 2002)
ทั้งนี้ หากพิจารณาจากลักษณะของความคิดเห็นสาธารณะที่ต้องการรับฟัง
และวิธีการได้มาซึ่งผู้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นแล้ว รูปแบบของการ
ปรึกษาหารือสาธารณะสามารถแบ่งออกเป็น 8 รูปแบบ (ตาราง 1.1) ดังนี้
5 ดู เช่น Catt and Murphy (2008) da Cruz (2016) Montpetit (2003)
01-142 PublicConsult_ok.indd 30 22/6/2562 BE 17:26