Page 126 - kpi20756
P. 126
12 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
2. ควรมีการเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อแยกออกจาก
กันโดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบแยกออกจากกัน เพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเต็มเปี่ยมตามหลักการ
ประชาธิปไตย ได้เลือกผู้แทนเขตที่มีคุณภาพและเลือกพรรคที่มีนโยบายที่ดี ทำให้ที่นั่งพรรค
กำหนดจากความนิยมที่ประชาชนมีต่อพรรคโดยตรงไม่ได้กำหนดจากความนิยมในตัวผู้สมัคร
ในแต่ละเขต และประชาชนได้สิทธิเลือกผู้แทนโดยตรงทั้งสองแบบคือเลือกพรรคที่ชอบ และ
เลือกตัวแทนเขตที่ใช่ หากมีการให้ประชาชนเลือก 2 ใบแยกกันประชาชนมีสิทธิใช้วิจารณญาณ
เต็มที่ และผู้แทนที่ถูกเลือกก็สะท้อนเจตนารมณ์ประชาชนชัดเจน เพราะประชาชนได้เลือก
โดยตรงทั้งในระบบเขตและระบบพรรค
3. ในกรณีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชี
รายชื่อว่างลง เช่น กรณีย้ายพรรคการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ กรณี
ตายหรือลาออกหรือการเลือกตั้งใหม่ของสมาชิกสภาผู้แทนแบบแบ่งเขต เพราะฉะนั้นหากการ
เลือกตั้งมีบัตรใบเดียวคะแนนไปผูกอยู่ที่เขตเลือกตั้งอาจจะเป็นปัญหา เพราะจะทำให้กระทบกับ
การคำนวณคะแนนและที่นั่งของทุกพรรคตามไปด้วย เพราะทุกอย่างผูกอยู่กับคะแนนเขตเลือกตั้ง
ตัวแทนที่ได้รับตำแหน่งอาจจะสิ้ดสุดลงได้ทุกเมื่อ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวผู้เขียนจึงเห็นว่า
ควรกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรณีที่ว่างลงไว้ในพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญให้มีความชัดเจนและไม่กระทบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว
ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับตำแหน่งแล้วได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์
อันแท้จริงของประชาชนต่อไป
จากข้อเสนอแนะดังกล่าวหากรัฐได้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ก็จะทำให้ประเทศ
ไทยมีระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ทำให้การคำนวณการได้มาซึ่งตัวแทนของสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองได้รับความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีวิธีการที่ชัดเจน และ
ลดความเหลื่อมล้ำทางการเมืองจากรูปแบบการคำนวณที่ไม่มีความแน่นอนชัดเจนเพราะตัวแทน
ที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริง และที่สำคัญทำให้
พรรคการเมืองที่ทำหน้าที่บริหารประเทศสามารถบริหารประเทศเป็นไปอย่างมีเสถียรภาพและ
ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
สรุป
ปัญหาของการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อนั้นเกิดจากกระบวนการ
และขั้นตอนของการได้มาที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญที่มีความไม่แน่นอนชัดเจน เนื่องจากเกิดการ
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 มาตรา 128 (5) บัญญัติว่า “,,,และให้นําจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
ตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91(4) และ
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
ทั้งหมดไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
ต่ำกว่าจํานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้ แต่ต้องไม่มีผลให้
พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจํานวนที่จะพึงมี,,,” ซึ่งทำให้เกิด