Page 127 - kpi20756
P. 127
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 127
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
แนวความคิดเห็นในการตีความกฎหมายและขั้นตอนการคำนวณการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อหลายกรณี อาจส่งทำให้เกิดอุปสรรคและความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นอันไม่
สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่แท้จริง
ผู้เขียนจึงขอเสนอแนะแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวในอนาคต กล่าวคือ ควรมีการ
กำหนดวิธีการในการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มีความชัดเจนมากขึ้น รัฐควรมีการแก้ไข
บทบัญญัติเกี่ยวกับการคำนวณการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ตาม
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561
มาตรา 128 ให้มีความสอดคล้องกับมาตรา 91 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 โดยแก้ไขตัดคำว่า “เบื้องต้น” ในมาตรา 128 (2),(3) ตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 และสิ่งสำคัญคือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 91(4) และพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 (5)
ควรแก้ไขเพิ่มเติมว่า “...พรรคการเมืองใดที่ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่พรรคการเมืองนั้นพึงมีให้ถือว่าไม่มีผู้ใดในบัญชีได้รับการเลือกตั้ง และมิให้นำคะแนนเสียง
ดังกล่าวมารวมเพื่อคำนวณเพื่อหาสัดส่วนจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร...” ควรมีการเลือกตั้ง
สมาชิกผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อแยกออกจากกันโดยใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ
แยกออกจากกัน ควรกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรณีที่ว่างลงไว้ใน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้มีความชัดเจนและไม่กระทบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่ได้รับแต่งตั้งแล้ว ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาในการตีความกฎหมายและทำให้ไม่มีสูตรในการคำนวณ
หลายสูตรจนเกิดไปและทำให้เมืองเกิดความยืดเยื้อไม่สิ้นสุด นอกจากนี้ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์
ของรัฐธรรมนูญเหมือนเช่นรัฐธรรมนูญก่อนๆ ทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพทางการเมืองและเป็น
เอกภาพมากขึ้นและสามารถพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2