Page 125 - kpi20756
P. 125

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   12
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      พรรคโดยตรงไม่ได้กำหนดจากความนิยมในตัวผู้สมัครในแต่ละเขต และประชาชนได้สิทธิเลือก
                      ผู้แทนโดยตรงทั้งสองแบบคือเลือกพรรคที่ชอบ และเลือกผู้แทนเขตที่นิยม
                                                                                          42

                            จากปัญหาดังกล่าว พบว่าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมเกิดจากความไม่แน่นอน
                      ชัดเจนถึงรูปแบบวิธีการในการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ตาม

                      รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                      ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 เพื่อให้ระบบการเมืองไทย

                      มีเสถียรภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการเมือง และสร้างความเป็นประชาธิปไตยที่ดี ผู้เขียน
                      มีความเห็นว่า แม้ระบบการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 เป็นระบบที่ดีที่มี
                      การเลือกตั้งแบบคู่ขนานระหว่างการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและแบบเป็นสัดส่วนแยกอิสระจากกัน

                      แต่ก็พบข้อเสียบางประการคือพรรคเล็กพรรคน้อยไม่มีโอกาสได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภา
                      ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและทำให้พรรคการเมืองที่เข้ามาทำหน้าที่ในรัฐบาลเป็น

                      พรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากเด็ดขาด ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่ารัฐควรใช้ระบบการเลือกตั้งแบบ
                      จัดสรรปันส่วนผสมมาปรับใช้เหมือนเดิม ภายใต้บังคับเงื่อนเพื่อไม่ควรให้มีตัวแทนของ
                      พรรคการเมืองที่เป็นพรรคเล็กพรรคน้อยเข้ามาในรัฐสภามากจนเกินไปดั่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

                      โดยมีข้อเสนอแนะพิจารณา ดังนี้


                            1. ควรกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองได้รับในการคำนวณสัดส่วนของ
                      สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ กล่าวคือ การแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบ
                      รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ให้มีความ

                      สอดคล้องกับมาตรา 91 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยแก้ไข
                      ตัดคำว่า “เบื้องต้น” ในมาตรา 128 (2),(3) ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย

                      การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 นอกจากนี้ควรบัญญัติวิธีการคำนวณการได้มา
                      ซี่ง ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อให้มีความแน่นอนชัดเจนมากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการตีความรูปแบบ
                      การคำนวณได้หลายวิธี โดยการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 128 (5) ตามพระราชบัญญัติประกอบ

                      รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ว่า “...พรรคการเมืองใด
                      ที่ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นพึงมีให้ถือว่าไม่มี

                      ผู้ใดในบัญชีได้รับการเลือกตั้ง และมิให้นำคะแนนเสียงดังกล่าวมารวมเพื่อคำนวณหาสัดส่วน
                      จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร...” หรือรัฐอาจกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนเสียงที่จะนำมาใช้
                      ในการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อเช่นเดียวกับกฎหมายของประเทศ

                      เยอรมนี  ทั้งนี้ เพื่อให้รูปแบบในการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วนมีความ
                      ชัดเจนมากขึ้น และทำให้พรรคการเมืองที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นฝ่ายรัฐสภามีเสถียรภาพมากขึ้น

                      อีกทั้งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของตัวแทนของพรรคการเมืองที่เข้ามาทำหน้าที่ในรัฐสภา เพราะ
                      เป็นตัวแทนที่เข้ามาทำหน้าที่นั้นเป็นไปตามเจตจำนงของประชาชนอย่างแท้จริง






                         42   ประจักษ์ ก้องกีรติ. ระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสม (ขยายความ): ความเป็นสัดส่วนไม่ได้เท่ากับความ  เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
                      เป็นประชาธิปไตย. เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 จาก https://prachatai.com/journal/2016/02/64042
   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129   130