Page 121 - kpi20756
P. 121
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 121
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
นอกจากนี้ประเทศที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนที่น่าจะเป็นตัวอย่าง
ที่ดีเกี่ยวกับการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ ประเทศเยอรมนีที่มีระบบการเลือกตั้ง
แบบระบบสัดส่วนผสม โดยมีหลักเกณฑ์ 2 ประการที่น่าสนใจ ได้แก่ ประการแรก คือ ยังคงมี
ระบบการเลือกตั้งทั้ง 2 แบบทั้งระบบแบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ โดยปรับสัดส่วนใหม่
ไม่ให้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 แบบห่างกันมากนัก และประการที่ 2 การลงคะแนน
กาบัตรเลือกตั้ง สามารถเลือกได้สองแบบคือ แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และบัญชีรายชื่อ โดยเมื่อ
เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตได้เท่าไหร่ ก็ถือเป็นจำนวนที่ได้แน่นอนเท่านั้นก่อน
ส่วนแบบระบบบัญชีรายชื่อจะนำคะแนนที่พรรคการเมืองได้รับมานับรวมกันทั้งประเทศ พรรคที่ได้
คะแนนโหวตน้อยกว่าร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์ของคะแนนโหวตทั้งหมดจะไม่มีสิทธิได้สมาชิกสภา
39
ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ หรือถ้าได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตถึง 3 คน แม้คะแนน
โหวตไม่ถึง 5 เปอร์เซนต์ก็มีสิทธิได้ ส.ส. บัญชีรายชื่อ จะเห็นได้ว่ารูปแบบของการได้มาของ
40
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศเยอรมนีมีความชัดเจนแน่นอน และเป็นไปตามเจตนารมณ์
ที่แท้จริงของประชาชน ทั้งนี้ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้ง 2 ใบโดยเลือกสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตและพรรคการเมืองแยกออกจากกัน ซึ่งต่างกันกับประเทศไทยซึ่งใช้
บัตรเลือกตั้งใบเดียวโดยจำกัดเลือกตัวแทนเฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเท่านั้น
อันไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ประเทศเยอรมนียังมีรูปแบบถึง
วิธีการคำนวณการได้มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อโดยการกำหนดคะแนน
ขั้นต่ำของพรรคการเมืองร้อยละ 5 ที่จะมีสิทธิได้รับการเลือกตั้งเป็นตัวแทนสมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ดังนั้น แม้ตัวสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตอาจจะไม่ได้
ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น แต่อาจมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้หากมีคะแนน
ของพรรคเกินคะแนนขั้นต่ำของรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้มีการกำหนดคะแนน
ขั้นต่ำในการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไว้ ทำให้รูปแบบในการคำนวน
มีหลายวิธีไม่มีความแน่นอนชัดเจนและซับซ้อน และส่งผลให้พรรคการเมืองที่มีคะแนนเสียงไม่ถึง
คะแนนที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีกลับได้รับการเลือกให้เป็นตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ อันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการเมือง ผู้เขียนเห็นว่าควรนำรูปแบบการได้มา
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาปรับใช้ให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทย
39 ชงคชาญ สุวรรณมณี. การเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนี. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/
ebook /content-issue/2558 /hi2558-016.pdf
40 เวิร์คพอยนิวส์. เปรียบเทียบระบบเลือกตั้ง ไทย และ เยอรมนี เหมือนหรือต่างกันอย่างไร. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
วันที่ 1 ตุลาคม 2560 จากhttps://workpointnews.com