Page 123 - kpi20756
P. 123

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   12
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 โดยการแสดง
                      ความเห็นในการคำนวณหลายวิธี อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นด้วยกับความเห็นที่สอง กล่าวคือ

                      จะต้องไม่นำคะแนนที่มีคะแนนน้อยกว่าคะแนน ส.ส.พึงมีมาคิดคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
                      เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และจะมีความสอดคล้องกับแนวคิดของรัฐธรรม
                      แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณสมาชิกสภา

                      ผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อโดยหากคะแนนของพรรคการเมืองใดคำนวณไม่ถึงร้อยละ 5
                      จะไม่นำมารวมคิดคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และรัฐธรรมนูญ

                      แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ไม่มีการกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 5 เช่นเดียวของ
                      รัฐธรรมนูญ 2540 ทำให้ทุกคะแนนเสียงถูกมาใช้คิดคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด
                      แต่จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะไม่มี

                      จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพราะคะแนนไม่เพียงพอที่จะมี ส.ส.บัญชีรายชื่อเท่านั้น ไม่ใช่
                      เพียงเพราะคะแนนไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำของรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากมีการคำนวณตามความเห็นที่สอง

                      ก็จะมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับ และทำระบบการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น


                      4. ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                      แบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560



                            เนื่องจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบใหม่ตามระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรร

                      ปันส่วนผสม เป็นการนำคะแนนจากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
                      มาคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมือง โดยการ
                      เลือกตั้งโดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว ต่างกันกับการเลือกตั้งแบบเดิมที่ผ่านมาตามรัฐธรรมนูญแห่ง

                      ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และ 2550 เป็นระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนานโดยใช้บัตร
                      เลือกตั้ง 2 ใบ ได้แก่ เลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                      แบบบัญชีรายชื่อแยกออกจากกัน ทำให้การจัดสรรที่นั่งของผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้งและระบบ
                      เป็นสัดส่วนจากบัญชีรายชื่อของพรรคจะเป็นอิสระจากกัน โดยจะไม่นำคะแนนจากระบบเลือกตั้ง
                      สองระบบมาคิดรวมกัน พบว่าระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรแบบจัดสรรปันส่วนผสมนั้น มีปัญหา

                      และอุปสรรคเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญ
                      พุทธศักราช 2560 หลายประการ ดังนี้


                            1)  ความไม่แน่นอนชัดเจนถึงรูปแบบวิธีการในการคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
                      แบบบัญชีรายชื่อ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติ

                      ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ทำให้
                      เกิดสูตรในการคำนวณที่มาของการได้มา ส.ส.บัญชีรายชื่อหลายสูตร ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อ
                      บทบัญญัติกฎหมายไม่มีความแน่นอนชัดเจน และเกิดความซับซ้อนในการคำนวณ ทำให้เกิด

                      ผลกระทบต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่จะเข้ามาทำหน้าที่
                      ในรัฐสภา ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการเมือง กล่าวคือ ทำให้พรรคการเมืองที่ได้คะแนนเสียง            เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2

                      เกินคะแนนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงไม่มีที่นั่งในรัฐสภา ในขณะที่พรรคการเมืองที่มีคะแนน
   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128