Page 132 - kpi20756
P. 132
1 2 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
บทนำ
ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา จังหวัดชายแดนใต้ตกอยู่ในห้วงของความรุนแรง ที่แม้จะดูเหมือนว่า
มีแนวโน้มจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงลดลง แต่ปัญหาของความรุนแรงก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง
มีข้อเสนอแนะและความพยายามต่างๆ มากมายจากหลากหลายฝ่ายในสังคมที่ร่วมกันนำเสนอ
เพื่อต้องการที่จะให้เกิดสันติภาพในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็มีงานศึกษาจำนวนมากที่เกิดจากความ
สนใจในการที่จะศึกษาประเด็นต่างๆ นับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเป็นต้นมา งานศึกษา
เหล่านี้ล้วนสร้างสรรค์ให้เกิดความเข้าใจต่อพื้นที่ในมุมมองที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม
หากพิจารณาในมิติทางการเมืองแล้ว การศึกษากลุ่มที่ขึ้นชื่อว่ามีบทบาทที่สำคัญไม่น้อยในสังคม
นับตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์จนเข้าสู่ช่วงเหตุการณ์ที่คนกลุ่มนี้ก็ยังคงมุ่งเน้นที่จะใช้พื้นที่ทาง
การเมือง นั่นก็คือ นักการเมืองระดับชาติที่เป็นมลายูมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเป็น
กลุ่มศึกษาหลักที่งานวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “พลวัตการเคลื่อนไหวของนักการเมืองมลายูมุสลิม
ท่ามกลางความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนใต้” ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุน
การวิจัยได้ศึกษาไว้แล้ว ซึ่งมีคำถามวิจัยของงานชิ้นนี้ต้องการมุ่งเน้นถึงการมองบนฐานข้อมูล
ที่ปรากฏให้เห็นถึงการปรับตัวอย่างเห็นได้ชัดของนักการเมืองมลายูมุสลิมในช่วงหลังจากเกิด
เหตุการณ์ความไม่สงบเป็นต้นมา โดยได้สัมภาษณ์นักการเมืองที่เคยได้รับเลือกจากประชาชน
ในอดีตและที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งในครั้งล่าสุดนี้ และได้จัดทำสนทนากลุ่มกับนักการเมือง
นักวิชาการ และภาคประชาสังคมในพื้นที่ชายแดนใต้ ตลอดจนได้สังเกตการมีส่วนร่วมและไม่มี
ส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนได้ทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องในประเด็นดังกล่าวนี้
บทความชิ้นนี้นับว่าเป็นส่วนหนึ่งจากภาพรวมของการขับเคลื่อนของนักการเมืองมลายูมุสลิม
ที่ได้ระบุไว้ในงานวิจัยชิ้นที่กล่าวถึงข้างต้น โดยจะมุ่งเน้นไปที่ตัวตน โอกาสและข้อท้าทายของ
ความเป็นนักการเมืองมลายูมุสลิม
แม้ว่าการขับเคลื่อนเพื่อเรียกร้องสิทธิและรักษาอัตลักษณ์ของกลุ่มมลายูมุสลิมจะถูก
แปรเปลี่ยนเป็นการใช้กำลังวิถีหรือวิธีการของใช้ความรุนแรง โดยเฉพาะในช่วงแรกที่สยามประเทศ
เปลี่ยนมาสู่การปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ที่ปรากฏว่ามีหนึ่งในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
มลายูมุสลิมคนแรกผิดหวังกับการต่อสู้ในระบบรัฐสภาจนหนีออกนอกประเทศไปก่อตั้งขบวนการ
ต่อสู้โดยใช้กองกำลังเพื่อเรียกร้องสิทธิของชาวมลายูในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยขบวนการที่เขาก่อตั้ง
ยังคงต่อสู้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักการเมือง
มลายูมุสลิมในพื้นที่ซึ่งอาจประสงค์ในการเรียกร้องสิทธิของคนในพื้นที่เช่นเดียวกัน แต่เลือกใช้วิธี
ทางการเมืองแทน แม้ว่าจะเป็นที่เข้าใจในสังคมว่ากลุ่มนักการเมืองมักจะเกี่ยวข้องกับเรื่อง
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 ของการเป็นนักการเมืองระดับชาติในพื้นที่ขัดแย้งเป็นอย่างไร มีพลวัตของการเคลื่อนไหวหรือไม่
ผลประโยชน์ในแง่มุมต่างๆ แต่ถึงที่สุดแล้วกลับยังไม่เห็นว่าโดยแท้จริงหลักคิดและรูปแบบ
การเคลื่อนไหวของกลุ่มนี้เป็นไปอย่างไร มีอิทธิพลของความคิดแบบใดที่เข้ามามีส่วน และสถานะ
สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากหากพิจารณาในพื้นที่ความขัดแย้งอื่นๆ เช่น เคิร์ด
มินดาเนา อาเจะห์ หรือไอร์แลนด์เหนือ ก็ตาม ล้วนแล้วแต่จะเห็นบทบาทของกลุ่มนักการเมือง
เมื่อจุดของความขัดแย้งเคลื่อนเข้าสู่จุดที่ความรุนแรงไม่ใช่ทางออกของปัญหาอีกต่อไป